ทฤษฎี Elliott Wave คือ อีกหลักการหนึ่งที่มีความนิยมอย่างมากในหมู่เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์สายสายกราฟ ทฤษฎีนี้ใช้วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดการเงินต่างๆ Elliott Wave ถูกค้นพบและพัฒนาขึ้นมาโดยนักบัญชีชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Ralph Nelson Elliott ในช่วงปี 1930 โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าการเคลื่อนที่ของราคาจะขยับตัวเป็นแบบชุดคลื่น ซึ่งแน่นอนว่าการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของตลาดในเชิงราคาด้วย ทฤษฎี Elliott Wave นั้นสามารถช่วยหาจุดแนวรับและแนวต้านสำคัญได้ โดยมีการใช้หลักการ 5 ชุดคลื่น และ ตัวเลขสัดส่วนของ Fibonacci เข้ามาเสริมการวิเคราะห์ราคาเชิง Elliott Wave
กฎของ ทฤษฎี Elliott Wave คือ
ทฤษฎี Elliott Wave เป็นหลักการที่นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ราคาของตลาดโดยอ้างอิงตามกฎของการเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบชุดคลื่นของ Elliott Wave ซึ่งกฎ concept พื้นฐานสำคัญจะมีดังนี้
กฎข้อที่ 1 ของ ทฤษฎี Elliott Wave: หลักการของชุดคลื่น
กฎแรกระบุไว้ว่า ตลาดมักจะเคลื่อนที่เป็นไปตามเทรนหลัก หรือ Primary Trend ด้วยชุดคลื่นใหญ่ที่ประกอบไปด้วย 5 ชุดคลื่น (Impulse) และจะตามมาด้วยชุดปรับฐาน (Corrective) 3 ชุดคลื่น ซึ่งในคลื่นชุดใหญ่เหล่านี้ก็จะประกอบไปด้วยชุดคลื่นย่อย ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันกับชุดคลื่นใหญ่ดังภาพด้านล่าง
กฎข้อที่ 2 ของ ทฤษฎี Elliott Wave: ลักษณะของชุดคลื่น
กฎข้อที่สอง กล่าวว่า ราคาเคลื่อนที่ไปตามคลื่นหลักๆ 2 แบบคือ Impulse และ Corrective ซึ่งใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือ คลื่นที่เคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มหลักของตลาด (Major Trend) จะเรียกว่า Impulse ซึ่งจะตามมาด้วยการปรับฐานที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มหลักของ Impulse เสมอ ซึ่งนั่นเรียกว่าคลื่นแบบ Corrective
กฎข้อที่ 3 ของ ทฤษฎี Elliott Wave: ลำดับของชุดคลื่น
ชุดคลื่นของ Elliott Wave สามารถแบ่งชั้นได้ตามลำดับ ซึ่งสามารถกำหนดลำดับของชุดคลื่นได้โดย ระยะเวลา และ ขนาดของชุดคลื่น ชุดคลื่นนั้นจะมีทั้งหมด 9 ลำดับ ตั้งแต่ลำดับที่เล็กที่สุด (Subminuette wave) จนไปถึงลำดับที่ใหญ่ที่สุด (Supercycle Wave)
Impulse Wave ของ ทฤษฎี Elliott Wave คือ
Impulse Wave ประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่ขึ้นลงของราคา 5 ขยัก หรือ 5 ชุดคลื่นนั่นเอง โดยจะแบ่งเป็นคลื่นที่วิ่งไปตามแนวโน้มหลัก 3 ชุดคลื่น (Motive) และวิ่งสวนแนวโน้มหลัก 2 ชุดคลื่น (Corrective) ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น หากกราฟเป็นขาลง คลื่น Motive ที่เป็นคลื่น 1 คลื่น 3 และ คลื่น 5 จะเป็นคลื่นที่ราคาปรับตัวลง ได้ขณะที่ Corrective คือ คลื่น 2 และ 4 จะเป็นคลื่นที่ราคามีการเด้ง Rebound
โครงสร้างที่พบบ่อยคือชุด 5 – 3 – 5 – 3 – 5 แบบด้านบน นั่นคือ ในคลื่นที่ 1 คลื่นที่ 3 และคลื่นที่ 5 จะประกอบไปด้วยคลื่น 5 พยัก ในขณะที่ คลื่นที่ 2 และ 4 ประกอบไปด้วยคลื่น 5 ขยักนั่นเอง
กฎของคลื่น Impulse
- คลื่น 2 ไม่สามารถปรับฐานหรือ Rebound เกิน 100% ของคลื่นที่ 1
- คลื่นที่ 3 จะไม่เป็นคลื่นที่สั้นที่ใน เมื่อเทียบกันระหว่างคลื่นที่ 1 คลื่นที่ 3 และคลื่นที่ 5
- คลื่นที่ 4 จะไม่ปรับฐานเกินจุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 3
หากหนึ่งในข้อใดด้านบนไม่เข้ากฎ จะถือว่าคลื่นนั้นไม่ใช่คลื่น Impulse และมีสิทธิ์เป็นคลื่นประเภทอื่น
Corrective Wave ของ ทฤษฎี Elliott Wave คือ
ถ้าจะแปลความหมายตรงตัวของ Corrective Wave ก็คือชุดคลื่นที่ปรับฐานซึ่งจะเดินทางสวนกับแนวโน้มหลักของตลาด (Major Trend) ซึ่งถ้าเปรียบเทียบ Corrective กับ Impulse นั้น การจำแนกประเภทของชุดคลื่น Corrective นั้น จะมีความหลากหลายและซับซ้อนกว่า Impulse มาก ซึ่งหลายๆครั้ง เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าชุดคลื่นที่เราเจออยู่นั้นคือชุดคลื่นอะไร จนกว่ากราฟจะเฉลย ซึ่งรูปแบบชุดคลื่นแบบ Corrective จะมี 5 แบบ ดังนี้
- Zigzag (5-3-5)
- Flat (3-3-5)
- Triangle (3-3-3-3-3)
- Double Three
- Triple Three
1. Zigzag (5-3-5)
กฎของ Zigzag
- Zigzag คือคลื่นปรับฐานที่มี 3 ชุดคลื่นภายในและใช้อักษร ABC เรียกแต่ละคลื่น
- คลื่น A และ C จะมี 5 คลื่นย่อย อาจจะเป็นในรูปแบบ Impulse หรือ Diagonal ก็ได้
- คลื่น B จะมีโครงสร้างแบบไหนก็ได้ภายใต้รูปแบบของ Corrective
- Zigzag มีโครงสร้างแบบ 5-3-5
ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci
- คลื่น B = 50% 61.8% 76.4% หรือ 85.4% ของคลื่น A
- คลื่น C = 61.8% 100% หรือ 123.6% ของคลื่น A
- ถ้าคลื่น C = 161.8% ของคลื่น A ดังนั้นคลื่น C อาจจะเป็นชุดคลื่นที่ 3 หรือ 5 ของคลื่นแบบ Impulse
2. Flat (3-3-5)
ลักษณะของ Flat
ชุดคลื่นแบบ Flat Correction จะมี 3 ชุดคลื่นโดยจะใช้ตัวอักษร ABC แทนตัวเลขแบบ Impulse โดยคลื่น Zigzag จะคล้ายๆกับ Flat ต่างกันตรงแค่ ชุดคลื่นแรก หรือ คลื่น A นั้น จะมี 5 ขยักใน Zigzag ในขณะที่ Flat จะมี 3 ขยัก
โดย Flat ก็จะแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆคือ
- Regular Flat (ชุด Flat แบบปกติ)
- Irregular/Expanded Flat (ชุด Flat แบบไม่ปกติหรือชุด Flat แบบขยาย)
- Running Flat
Regular Flat
ลักษณะของ Regular Flat
- คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B จะมี 3 คลื่น โครงสร้าง (ABC = 3-3-5)
- คลื่นย่อยของคลื่น C จะมี 5 คลื่น (ABC = 3-3-5)
- คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B สามารถมีโครงสร้างใดก็ได้ภายในรูปแบบ Corrective ที่เป็นโครงสร้างที่มี 3 ชุดคลื่น ซึ่งนั่นก็คือ zigzag, flat, double three, triple three (Triangle จะมีโครงสร้างแบบ 5 ชุดคลื่น)
- คลื่น B จะย่อลึกในระยะที่ใกล้ๆกับจุดเริ่มต้นของคลื่น A
- คลื่น C จะจบลงที่จุดใกล้เคียงกับจุดเริ่มต้นของคลื่น A
- ต้องเกิด Divergence (สัญญาณกลับตัว)ในคลื่น C
ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci
- Wave B จะต้องเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 90% ของคลื่น A
- Wave C = 61.8%, 100%, หรือ 123.6% ของเวฟ AB
Expanded Flat
Expanded Flat จะเป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับคลื่น Flat อื่น
ลักษณะของ Expanded Flat
- คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B จะมี 3 คลื่น โครงสร้าง (ABC = 3-3-5)
- คลื่นย่อยของคลื่น C จะมี 5 คลื่น (ABC = 3-3-5)
- คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B สามารถมีโครงสร้างใดก็ได้ภายในรูปแบบ Corrective ที่เป็นโครงสร้างที่มี 3 ชุดคลื่น ซึ่งนั่นก็คือ zigzag, flat, double three, triple three (Triangle จะมีโครงสร้างแบบ 5 ชุดคลื่น)
- คลื่น B จะเดินทางเกินจุดเริ่มต้นของคลื่น A หรือกล่าวง่ายๆคือยาวกว่าคลื่น A นั่นเอง
- จุดสิ้นสุดของคลื่น C จะเดินทางเกินคลื่น A (ตามภาพด้านบน)
- ต้องเกิด Divergence (สัญญาณกลับตัว)ในคลื่น C
ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci
- Wave B จะต้องเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 123.6% ของคลื่น A
- Wave C จะต้องเป็นสัดส่วน 123.6% – 161.8% ของเวฟ AB
Running Flat
Running Flat จะเป็นรูปแบบที่พบได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคลื่น Flat อื่น
ลักษณะของ Running Flat
- คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B จะมี 3 คลื่น โครงสร้าง (ABC = 3-3-5)
- คลื่นย่อยของคลื่น C จะมี 5 คลื่น (ABC = 3-3-5)
- คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B สามารถมีโครงสร้างใดก็ได้ภายในรูปแบบ Corrective ที่เป็นโครงสร้างที่มี 3 ชุดคลื่น ซึ่งนั่นก็คือ zigzag, flat, double three, triple three (Triangle จะมีโครงสร้างแบบ 5 ชุดคลื่น)
- คลื่น B จะเดินทางเกินจุดเริ่มต้นของคลื่น A หรือกล่าวง่ายๆคือยาวกว่าคลื่น A นั่นเอง
- คลื่น C จะจบในระยะที่ไม่เกินจุดจบของคลื่น A (ตามภาพด้วยบน)
- ต้องเกิด Divergence (สัญญาณกลับตัว)ในคลื่น C
ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci
- Wave B จะต้องเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 123.6% ของคลื่น A
- Wave C จะต้องเป็นสัดส่วน 61.8% – 100% ของเวฟ AB
3. Triangle (3-3-3-3-3)
คลื่นแบบ Triangle มีโครงสร้างเป็น 3-3-3-3-3 มีทั้งหมด 4 ประเภทดังนี้
- Ascending Triangle
- Descending Triangle
- Contracting Triangle
- Expanding Triangle
4. Double Three
ลักษณะของ Double Three
- ชุดคลื่นนี้จะเป็นการรวม 2 คลื่นประเภท Corrective เข้าด้วยกัน
- คลื่นย่อยของคลื่น W และ คลื่น Y สามารถเป็นได้ทั้ง Zigzag, Flat, Double Three หรือ Triple Three
- คลื่น X สามารถเป็นคลื่นอะไรก็ได้ภายใต้รูปแบบของ Corrective
ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci
- Wave X จะมีสัดส่วนเป็น 50% – 85.4% ของเวฟ W
- Wave Y จะมีสัดส่วนเป็น 61.8% – 123.6% ของเวฟ W
- Wave Y จะไม่สามารถยาวเกินกว่า 161.8% ของเวฟ W
5. Triple Three
Triple Three จะเป็นการรวมของคลื่นประเภท Corrective เข้าด้วยกันคล้ายๆกับแบบ Double Three ต่างกันตรงแค่ Triple Three นั้น จะรวม 3 ประเภท ในขณะที่ Double Three นั้น จะรวม Corrective 2 ประเภทนั่นเอง
ลักษณะของ Triple Three
- ชุดคลื่นนี้จะเป็นการรวม 3 คลื่นประเภท Corrective เข้าด้วยกัน
- คลื่นย่อยของคลื่น W คลื่น Y และคลื่น Z สามารถเป็นได้ทั้ง Zigzag, Flat, Double Three หรือ Triple Three
- คลื่น X สามารถเป็นคลื่นอะไรก็ได้ภายใต้รูปแบบของ Corrective
- WXYZ จะมีการเคลื่อนที่แบบชุดโครงสร้าง 11 คลื่น
ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci
- Wave X จะมีสัดส่วนเป็น 50% – 85.4% ของเวฟ W
- Wave Y จะมีสัดส่วนเป็น 61.8% – 123.6% ของเวฟ W
- Wave Y จะไม่สามารถยาวเกินกว่า 161.8% ของเวฟ W
ข้อจัดกัดในการใช้งาน ทฤษฎี Elliott Wave คือ
แม้ว่า ทฤษฎี Elliott Wave คือ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของตลาด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่เป็นประเด็กถกเถียงกันในหมู่นักวิเคราะห์สายกราฟนั่นคือ
- ทฤษฎีสมมติว่าตลาดเคลื่อนที่ในรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นที่คาดเดาได้ ในความเป็นจริง ตลาดนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้เลย
- ทฤษฎีนี้ มีความยากในการระบุรูปแบบคลื่น โดยเฉพาะในเงื่อนไขตลาดที่ซับซ้อน และในหลายๆครั้ง เราจะรู้ว่าคลื่นที่เราเจออยู่คือคลื่นอะไรก็ต่อเมื่อตลาดเฉลยแล้วนั่นเอง
- เนื่องจากทฤษฎีสามารถตีความได้หลายแบบ(Subjective) ดังนั้นถ้าจะให้นักวิเคราะห์ 100 คนมาวิเคราะห์ คลื่น Elliott Wave ก็เป็นไปได้ยากที่คำตอบจะเหมือนกันทั้งหมด 100 คน เพราะต่างคนต่างก็สามารถตีความหมายไปในทางที่ตนเองเข้าใจ
ดังนั้นการนำ ทฤษฎี Elliott Wave มาใช้เทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องศึกษาทฤษฎีในลักษณะที่ลึกซึ้งและใช้ร่วมกับเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ ซึ่งจะสามารถช่วยลดข้อจำกัดของทฤษฎีได้ นอกจากนี้ การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในตลาดระยะยาวได้