...

ทฤษฎี Elliott Wave คือ

Table of Contents

ทฤษฎี Elliott Wave

ทฤษฎี Elliott Wave คือ อีกหลักการหนึ่งที่มีความนิยมอย่างมากในหมู่เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์สายสายกราฟ ทฤษฎีนี้ใช้วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดการเงินต่างๆ Elliott Wave ถูกค้นพบและพัฒนาขึ้นมาโดยนักบัญชีชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Ralph Nelson Elliott ในช่วงปี 1930 โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าการเคลื่อนที่ของราคาจะขยับตัวเป็นแบบชุดคลื่น ซึ่งแน่นอนว่าการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของตลาดในเชิงราคาด้วย ทฤษฎี Elliott Wave นั้นสามารถช่วยหาจุดแนวรับและแนวต้านสำคัญได้ โดยมีการใช้หลักการ 5 ชุดคลื่น และ ตัวเลขสัดส่วนของ Fibonacci เข้ามาเสริมการวิเคราะห์ราคาเชิง Elliott Wave

กฎของ ทฤษฎี Elliott Wave คือ

ทฤษฎี Elliott Wave เป็นหลักการที่นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ราคาของตลาดโดยอ้างอิงตามกฎของการเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบชุดคลื่นของ Elliott Wave ซึ่งกฎ concept พื้นฐานสำคัญจะมีดังนี้

กฎข้อที่ 1 ของ ทฤษฎี Elliott Wave: หลักการของชุดคลื่น

กฎแรกระบุไว้ว่า ตลาดมักจะเคลื่อนที่เป็นไปตามเทรนหลัก หรือ Primary Trend ด้วยชุดคลื่นใหญ่ที่ประกอบไปด้วย 5 ชุดคลื่น (Impulse) และจะตามมาด้วยชุดปรับฐาน (Corrective) 3 ชุดคลื่น ซึ่งในคลื่นชุดใหญ่เหล่านี้ก็จะประกอบไปด้วยชุดคลื่นย่อย ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันกับชุดคลื่นใหญ่ดังภาพด้านล่าง

ชุดคลื่น Elliott Wave

กฎข้อที่ 2 ของ ทฤษฎี Elliott Wave: ลักษณะของชุดคลื่น

กฎข้อที่สอง กล่าวว่า ราคาเคลื่อนที่ไปตามคลื่นหลักๆ 2 แบบคือ Impulse และ Corrective ซึ่งใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือ คลื่นที่เคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มหลักของตลาด (Major Trend) จะเรียกว่า Impulse ซึ่งจะตามมาด้วยการปรับฐานที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มหลักของ Impulse เสมอ ซึ่งนั่นเรียกว่าคลื่นแบบ Corrective

กฎข้อที่ 3 ของ ทฤษฎี Elliott Wave: ลำดับของชุดคลื่น

ชุดคลื่นของ Elliott Wave สามารถแบ่งชั้นได้ตามลำดับ ซึ่งสามารถกำหนดลำดับของชุดคลื่นได้โดย ระยะเวลา และ ขนาดของชุดคลื่น ชุดคลื่นนั้นจะมีทั้งหมด 9 ลำดับ ตั้งแต่ลำดับที่เล็กที่สุด (Subminuette wave) จนไปถึงลำดับที่ใหญ่ที่สุด (Supercycle Wave)

ดีกรี คลื่น Elliott

Impulse Wave ของ ทฤษฎี Elliott Wave คือ

Impulse Wave ประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่ขึ้นลงของราคา 5 ขยัก หรือ 5 ชุดคลื่นนั่นเอง โดยจะแบ่งเป็นคลื่นที่วิ่งไปตามแนวโน้มหลัก 3 ชุดคลื่น (Motive) และวิ่งสวนแนวโน้มหลัก 2 ชุดคลื่น (Corrective) ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น หากกราฟเป็นขาลง คลื่น Motive ที่เป็นคลื่น 1 คลื่น 3 และ คลื่น 5 จะเป็นคลื่นที่ราคาปรับตัวลง ได้ขณะที่ Corrective คือ คลื่น 2 และ 4 จะเป็นคลื่นที่ราคามีการเด้ง Rebound

Elliott Wave Impulse
โครงสร้างคลื่น 5 – 3 – 5 – 3 – 5

โครงสร้างที่พบบ่อยคือชุด 5 – 3 – 5 – 3 – 5 แบบด้านบน นั่นคือ ในคลื่นที่ 1 คลื่นที่ 3 และคลื่นที่ 5 จะประกอบไปด้วยคลื่น 5 พยัก ในขณะที่ คลื่นที่ 2 และ 4 ประกอบไปด้วยคลื่น 5 ขยักนั่นเอง

กฎของคลื่น Impulse

  • คลื่น 2 ไม่สามารถปรับฐานหรือ Rebound เกิน 100% ของคลื่นที่ 1
  • คลื่นที่ 3 จะไม่เป็นคลื่นที่สั้นที่ใน เมื่อเทียบกันระหว่างคลื่นที่ 1 คลื่นที่ 3 และคลื่นที่ 5
  • คลื่นที่ 4 จะไม่ปรับฐานเกินจุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 3

หากหนึ่งในข้อใดด้านบนไม่เข้ากฎ จะถือว่าคลื่นนั้นไม่ใช่คลื่น Impulse และมีสิทธิ์เป็นคลื่นประเภทอื่น

Corrective Wave ของ ทฤษฎี Elliott Wave คือ

ถ้าจะแปลความหมายตรงตัวของ Corrective Wave ก็คือชุดคลื่นที่ปรับฐานซึ่งจะเดินทางสวนกับแนวโน้มหลักของตลาด (Major Trend) ซึ่งถ้าเปรียบเทียบ Corrective กับ Impulse นั้น การจำแนกประเภทของชุดคลื่น Corrective นั้น จะมีความหลากหลายและซับซ้อนกว่า Impulse มาก ซึ่งหลายๆครั้ง เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าชุดคลื่นที่เราเจออยู่นั้นคือชุดคลื่นอะไร จนกว่ากราฟจะเฉลย ซึ่งรูปแบบชุดคลื่นแบบ Corrective จะมี 5 แบบ ดังนี้

  1. Zigzag (5-3-5)
  2. Flat (3-3-5)
  3. Triangle (3-3-3-3-3)
  4. Double Three
  5. Triple Three

1. Zigzag (5-3-5)

Zigzag Elliott Wave

กฎของ Zigzag

  • Zigzag คือคลื่นปรับฐานที่มี 3 ชุดคลื่นภายในและใช้อักษร ABC เรียกแต่ละคลื่น
  • คลื่น A และ C จะมี 5 คลื่นย่อย อาจจะเป็นในรูปแบบ Impulse หรือ Diagonal ก็ได้ 
  • คลื่น B จะมีโครงสร้างแบบไหนก็ได้ภายใต้รูปแบบของ Corrective 
  • Zigzag มีโครงสร้างแบบ 5-3-5

ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci 

  • คลื่น B = 50% 61.8% 76.4% หรือ 85.4% ของคลื่น A
  • คลื่น C = 61.8% 100% หรือ 123.6% ของคลื่น A
  • ถ้าคลื่น C = 161.8% ของคลื่น A ดังนั้นคลื่น C อาจจะเป็นชุดคลื่นที่ 3 หรือ 5 ของคลื่นแบบ Impulse

2. Flat (3-3-5)

ลักษณะของ Flat

ชุดคลื่นแบบ Flat Correction จะมี 3 ชุดคลื่นโดยจะใช้ตัวอักษร  ABC แทนตัวเลขแบบ Impulse โดยคลื่น  Zigzag จะคล้ายๆกับ Flat ต่างกันตรงแค่ ชุดคลื่นแรก หรือ คลื่น A นั้น จะมี 5 ขยักใน Zigzag ในขณะที่ Flat จะมี 3 ขยัก 

โดย Flat ก็จะแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆคือ

  • Regular Flat (ชุด Flat แบบปกติ)
  • Irregular/Expanded Flat (ชุด Flat แบบไม่ปกติหรือชุด Flat แบบขยาย)
  • Running Flat

Flat Elliott Wave

Regular Flat

ลักษณะของ Regular Flat
  • คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B จะมี 3 คลื่น โครงสร้าง (ABC = 3-3-5)
  • คลื่นย่อยของคลื่น C จะมี 5 คลื่น (ABC = 3-3-5)
  • คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B สามารถมีโครงสร้างใดก็ได้ภายในรูปแบบ Corrective ที่เป็นโครงสร้างที่มี 3 ชุดคลื่น ซึ่งนั่นก็คือ zigzag, flat, double three, triple three (Triangle จะมีโครงสร้างแบบ 5 ชุดคลื่น)
  • คลื่น B จะย่อลึกในระยะที่ใกล้ๆกับจุดเริ่มต้นของคลื่น A
  • คลื่น C จะจบลงที่จุดใกล้เคียงกับจุดเริ่มต้นของคลื่น A
  • ต้องเกิด Divergence (สัญญาณกลับตัว)ในคลื่น C

ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci 
  • Wave B จะต้องเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 90% ของคลื่น A
  • Wave C = 61.8%, 100%, หรือ 123.6% ของเวฟ AB

Expanded Flat

Expanded Flat จะเป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับคลื่น Flat อื่น 

Expanded Flat Elliott Wave

ลักษณะของ Expanded Flat 
  • คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B จะมี 3 คลื่น โครงสร้าง (ABC = 3-3-5)
  • คลื่นย่อยของคลื่น C จะมี 5 คลื่น (ABC = 3-3-5)
  • คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B สามารถมีโครงสร้างใดก็ได้ภายในรูปแบบ Corrective ที่เป็นโครงสร้างที่มี 3 ชุดคลื่น ซึ่งนั่นก็คือ zigzag, flat, double three, triple three (Triangle จะมีโครงสร้างแบบ 5 ชุดคลื่น)
  • คลื่น B จะเดินทางเกินจุดเริ่มต้นของคลื่น A หรือกล่าวง่ายๆคือยาวกว่าคลื่น A นั่นเอง
  • จุดสิ้นสุดของคลื่น C จะเดินทางเกินคลื่น A (ตามภาพด้านบน)
  • ต้องเกิด Divergence (สัญญาณกลับตัว)ในคลื่น C

ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci 
  • Wave B จะต้องเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 123.6% ของคลื่น A
  • Wave C จะต้องเป็นสัดส่วน 123.6% – 161.8% ของเวฟ AB

Running Flat

Running Flat จะเป็นรูปแบบที่พบได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคลื่น Flat อื่น 

Running Flat Elliott Wave

ลักษณะของ Running Flat 
  • คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B จะมี 3 คลื่น โครงสร้าง (ABC = 3-3-5)
  • คลื่นย่อยของคลื่น C จะมี 5 คลื่น (ABC = 3-3-5)
  • คลื่นย่อยของคลื่น A และคลื่น B สามารถมีโครงสร้างใดก็ได้ภายในรูปแบบ Corrective ที่เป็นโครงสร้างที่มี 3 ชุดคลื่น ซึ่งนั่นก็คือ zigzag, flat, double three, triple three (Triangle จะมีโครงสร้างแบบ 5 ชุดคลื่น)
  • คลื่น B จะเดินทางเกินจุดเริ่มต้นของคลื่น A หรือกล่าวง่ายๆคือยาวกว่าคลื่น A นั่นเอง
  • คลื่น C จะจบในระยะที่ไม่เกินจุดจบของคลื่น A (ตามภาพด้วยบน)
  • ต้องเกิด Divergence (สัญญาณกลับตัว)ในคลื่น C 

ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci 
  • Wave B จะต้องเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 123.6% ของคลื่น A
  • Wave C จะต้องเป็นสัดส่วน 61.8% – 100% ของเวฟ AB

3. Triangle (3-3-3-3-3)

คลื่นแบบ Triangle มีโครงสร้างเป็น 3-3-3-3-3 มีทั้งหมด 4 ประเภทดังนี้

  1. Ascending Triangle
  2. Descending Triangle
  3. Contracting Triangle
  4. Expanding Triangle

Triangle Elliott Wave Cheat Sheet

4. Double Three

Double Three Flat Zigzag
ตัวอย่าง Double Three ที่เป็นแบบ Flat ผสมกับ Zigzag

ลักษณะของ Double Three

  • ชุดคลื่นนี้จะเป็นการรวม 2 คลื่นประเภท Corrective เข้าด้วยกัน
  • คลื่นย่อยของคลื่น W และ คลื่น Y สามารถเป็นได้ทั้ง Zigzag, Flat, Double Three หรือ Triple Three
  • คลื่น X สามารถเป็นคลื่นอะไรก็ได้ภายใต้รูปแบบของ Corrective

ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci 

  • Wave X จะมีสัดส่วนเป็น 50% – 85.4% ของเวฟ W
  • Wave Y จะมีสัดส่วนเป็น 61.8% – 123.6% ของเวฟ W
  • Wave Y จะไม่สามารถยาวเกินกว่า 161.8% ของเวฟ W

Double Three Flat Triangle
ตัวอย่าง Double Three ที่เป็นแบบ Flat ผสมกับ Triangle

5. Triple Three

Triple Three จะเป็นการรวมของคลื่นประเภท Corrective เข้าด้วยกันคล้ายๆกับแบบ Double Three ต่างกันตรงแค่ Triple Three นั้น จะรวม 3 ประเภท ในขณะที่ Double Three นั้น จะรวม Corrective 2 ประเภทนั่นเอง

Triple Three

ลักษณะของ Triple Three

  • ชุดคลื่นนี้จะเป็นการรวม 3 คลื่นประเภท Corrective เข้าด้วยกัน
  • คลื่นย่อยของคลื่น W คลื่น Y และคลื่น Z สามารถเป็นได้ทั้ง Zigzag, Flat, Double Three หรือ Triple Three
  • คลื่น X สามารถเป็นคลื่นอะไรก็ได้ภายใต้รูปแบบของ Corrective
  • WXYZ จะมีการเคลื่อนที่แบบชุดโครงสร้าง 11 คลื่น

ความสัมพันธ์กับสัดส่วน Fibonacci 

  • Wave X จะมีสัดส่วนเป็น 50% – 85.4% ของเวฟ W
  • Wave Y จะมีสัดส่วนเป็น 61.8% – 123.6% ของเวฟ W
  • Wave Y จะไม่สามารถยาวเกินกว่า 161.8% ของเวฟ W

ข้อจัดกัดในการใช้งาน ทฤษฎี Elliott Wave คือ

แม้ว่า ทฤษฎี Elliott Wave คือ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของตลาด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่เป็นประเด็กถกเถียงกันในหมู่นักวิเคราะห์สายกราฟนั่นคือ 

  1. ทฤษฎีสมมติว่าตลาดเคลื่อนที่ในรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นที่คาดเดาได้ ในความเป็นจริง ตลาดนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้เลย 
  2. ทฤษฎีนี้ มีความยากในการระบุรูปแบบคลื่น โดยเฉพาะในเงื่อนไขตลาดที่ซับซ้อน และในหลายๆครั้ง เราจะรู้ว่าคลื่นที่เราเจออยู่คือคลื่นอะไรก็ต่อเมื่อตลาดเฉลยแล้วนั่นเอง
  3. เนื่องจากทฤษฎีสามารถตีความได้หลายแบบ(Subjective) ดังนั้นถ้าจะให้นักวิเคราะห์ 100 คนมาวิเคราะห์ คลื่น Elliott Wave ก็เป็นไปได้ยากที่คำตอบจะเหมือนกันทั้งหมด 100 คน เพราะต่างคนต่างก็สามารถตีความหมายไปในทางที่ตนเองเข้าใจ

ดังนั้นการนำ ทฤษฎี Elliott Wave มาใช้เทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องศึกษาทฤษฎีในลักษณะที่ลึกซึ้งและใช้ร่วมกับเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ ซึ่งจะสามารถช่วยลดข้อจำกัดของทฤษฎีได้ นอกจากนี้ การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในตลาดระยะยาวได้

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.