...

ทฤษฎี Dow คือ อะไร

Table of Contents

ทฤษฎี Dow คืออะไร

Dow Theory หรือ ทฤษฎี Dow คือ อะไร

ทฤษฎี Dow หรือ Dow Theory คือ หนึ่งในทฤษฎีทางการเงินที่สำคัญที่สุดซึ่งถูกคิดค้นมานานกว่า 100 ปีที่แล้วโดยนักข่าวชาวอเมริกันที่มีชื่อว่า Charles H. Dow ซึ่งเขาคือหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Dow Jones Industrial Average (DJIA) และหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal

Charles H. Dow ไม่ได้บันทึกแนวคิดของเขาเป็นทฤษฎี แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิต นักเขียนคนอื่นๆ ได้รวบรวมความคิดของเขาและปรับปรุงมุมมองของเขาในทฤษฎีดาว ปัจจุบันทฤษฎีดาว เป็นหนึ่งในแนวคิดพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Techical Analysis) ที่ยังคงถูกใช้ในตลาดการเงินอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการวิเคราะห์ในตลาดสกุลเงินดิจิทัลสมัยใหม่อย่าง Cryptocurrency

ทฤษฎี Dow ประกอบด้วยกฎหลัก 6 กฎดังนี้

1) กราฟหรือราคาสินทรัพย์ได้สะท้อนทุกอย่างแล้ว

หลักการทฤษฎีดาวข้อแรกใช้สมมติฐาน Efficient Market Hypothesis ซึ่งกล่าวว่าราคาสินทรัพย์ปัจจุบันได้สะท้อนข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดในตลาดแล้วไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย ดังนั้นเทรดเดอร์สามารถเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์เพื่อทำความเข้าใจว่าตลาดมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด

ยกตัวอย่างหุ้น IBM ในภาพ

IBM ทฤษฎี Dow
กราฟ IBM Timeframe 4 ชั่วโมง จาก TradingView

ตามภาพจะเห็นได้ว่า ราคาสินทรัพย์ของหุ้น IBM ได้มีการถูกเทขายลงมาตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2565 แม้จะมีการปรับตัวขึ้นแต่ก็ไม่สามารถทำ New High ได้ เมื่อมีการประกาศผลประกอบการในวันที่ 25 มกราคม 2566 ปรากฎว่าผลกำไรต่อไตรมาศนั้นลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาศที่ 4 ในปีที่แล้ว และผลกำไรต่อปีก็ลดลงเช่นกัน

จากทฤษฎีดาว จึงกล่าวได้ว่า ราคาที่แสดงก่อนที่จะประกาศงบนั้นได้สะท้อนข่าวทุกอย่างแล้ว เพียงแต่ว่าข่าวนั้นยังไม่ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะนั่นเอง

Dow จัดประเภทแนวโน้มตลาดอย่างกว้างๆ ออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาดังนี้

แนวโน้มหลัก  (Primary Trend)

แนวโนมหลักคือแนวโน้มที่กินเวลาหนึ่งปีขึ้นไป

แนวโน้มรอง (Secondary Trend)

แนวโน้มรองเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มหลัก แต่เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม แนวโน้มนี้กินเวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

แนวโน้มย่อย (Minor Trend)

แนวโน้มย่อยคือการเคลื่อนไหวของราคาที่กินเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์

ทฤษฎี Dow Trend
รูปจาก Fidelity

3) การเคลื่อนไหวของตลาดแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

การเคลื่อนไหวแบบขาขึ้น หรือ ตลาดกระทิง (Bull Market)

ช่วงสะสม (Accumulation // Phase-1)

ช่วงสะสมรู้จักกันอีกชื่อนึงคือ “ช่วงเจ้าเก็บของ” ในช่วงเก็บของนี้ มูลค่าของสินทรัพย์จะยังคงต่ำ ดังนั้นนักลงทุนที่เชื่อมั่นในสินทรัพย์ดังกล่าวจะค่อยๆทยอยซื้อสินทรัพย์เพราะเห็นว่าเป็นจุดที่ราคาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมเพื่อหวังทำกำไรในขาขึ้น

ช่วงปรับตัวขึ้น (Public participation // Phase-2)

ช่วงปรับตัวขึ้นนี้ จะเป็นระยะเวลาที่นักลงทุนรายหรือเทรดเดอร์รายย่อยเริ่มเข้ามาซื้อสินทรัพย์เนื่องจากราคาได้ขึ้นมาและข่าวสารเริ่มแพร่กระจายออกไปถึงสาธารณะแล้ว

ช่วงทำกำไร: (Excess // Phase-3)

หลังจากที่ราคาขึ้นมาได้ซักพักแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่หรือสถาบันเริ่มทยอยขายสินทรัพย์เพื่อทำกำไร ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยยังเข้าซื้ออยู่

การเคลื่อไหวในแบบขาลง หรือ ตลาดหมี (Bear Market)

ช่วงปล่อยของ (Distribution // Phase-1)

ในช่วงปล่อยของนี้ เจ้ามือหรือนักลงทุนรายใหญ่จะทยอยขายสินทรัพย์เพื่อทำกำไรจากขาขึ้นที่สินทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นมา ข่าวไม่ดีเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นจะเริ่มถูกปล่อยออกมาแล้ว

ช่วงปรับตัวลง (Public participation // Phase-2)

ตรงกันข้ามกับช่วงปรับตัวขึ้นในตลาดกระทิง — ในช่วงนี้หลังจากเริ่มได้รับข่าวสารที่ไม่ดีนัก นักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนรายย่อยจะขายหุ้นออกเพื่อลดการขาดทุนจากสินทรัพย์ที่ได้ปรับตัวลงมา

ช่วงตลาดทิ้ง (Panic Phase// Phase-3)

นักลงทุนหมดความหวังในการปรับฐานหรือการกลับตัวขึ้น จึงส่งผลให้ตลาดมีการเทขายต่อเนื่องจนราคาสินทรัพย์ปรับตัวลงมาอย่างมาก

Dow Theory Phase

4) ค่าดัชนีตลาดหรือค่าเฉลี่ยตลาดจะสอดคล้องกัน

ในการคอนเฟิร์มทิศทางของราคาสินทรัพย์นั้น สามารถอ้างอิงค่าดัชนีหรือค่าเฉลี่ยของอุตสหกรรมได้ เช่น หุ้น AAPL มีการปรับตัวขึ้นอย่างตัวเนื่อง เมื่อไปดูค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลก พบว่ามีการปรับตัวขึ้น นอกจากนั้น ดัชนี Dow Jones (US30) ก็ยังปรับขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงในทางทิศฎีดาวจึงกล่าวได้ว่า ทุกอย่างสอดคล้องกัน

5) Volume เป็นตัวยืนยันทิศทางราคา

การคอนเฟิร์มทิศทางราคาของสินทรัพย์ต้องสอดคล้องกับ Volume หรือปริมาณการซื้อ/ขาย กล่าวคือ หากสินทรัพย์จะเป็นขาขึ้น ต้องมี Volume การซื้อที่มากพอเข้ามายืนยันเทรนด์ขาขึ้น ปริมาณการซื้อที่ต่ำนั้นหมายถึงความอ่อนแอในเทรนด์ขาขึ้น อาจเป็นการเด้งขึ้นเพื่อลงต่อ

ในทางกลับกัน หากมีปริมาณการเทขายอย่างมากผิดปกติและทิศทางราคาก็ปรับลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อทิศทางราคาและปริมาณสอดคล้องกัน นั่นแปลว่ามีโอกาสที่สินทรัพย์นั้นจะคอนเฟิร์มเทรนด์ขาลงแล้วจริงๆ ไม่ใช่เป็นการ ลงเพื่อขึ้นต่อ 

ยกตัวอย่างกราฟ BNBUSD ด้านล่าง จะเห็นได้กว่า ก่อนที่ราคาจะวิ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุด (All Time High) พบว่ามีปริมาณการ (Volume) เข้าซื้อที่เยอะผิดปกติเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้ การคอนเฟิร์ม Volume ขาขึ้น จึงถูกเรียกกันในคำว่า “เจ้าเข้า”

Dow Theory Volume
กราฟ BNBUSD Timeframe Day จาก TradingView

6) เทรนด์ของราคาสินทรัพย์จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีการกลับตัว

ทฤษฎีดาวข้อสุดท้ายได้กล่าวไว้ว่า เทรนด์จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีการกลับตัว เช่น หากเป็นขาขึ้นก็จะเป็นขาขึ้นต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีสัญญาณการกลับตัว ดังนั้นเงื่อนไขของเทรนด์นั้นมีดังนี้

  • เงื่อนไขของเทรนด์ขาขึ้น: ราคามีการทำ จุดต่ำสุด (Low) และ จุดสูงสุด (High) ที่สูงขึ้น
  • เงื่อนไขของเทรนด์ขาลง: ราคามีการทำ จุดต่ำสุด (Low) และ จุดสูงสุด (High) ที่ต่ำลง

กล่าวคือ ในเทรนด์ขาขึ้น ราคาก็จะปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่หากเมื่อใดก็ตาม ที่ราคาไม่ทำ จุดสูงสุด(High)ใหม่ และมีทำจุดต่ำสุด (Low) ที่ต่ำลงกว่าเดิม นั่นเป็นการคอนเฟิร์มจุดสิ้นสุดของเทรนด์ขาขึ้นแล้ว และหากกราฟมีการทำ Lower Higher และ Lower Low นั่นคือสัญญาณว่าราคาสินทรัพย์ได้กลับตัวเป็นขาลงแล้วนั่นเอง

Dow Theory คือ Trend Conditions

เป้าหมายของการศึกษาทฤษฎีดาว

เป้าหมายโดยรวมของการศึกษาทฤษฎีดาวคือการที่ผู้ศึกษาสามารถระบุแนวโน้มหลัก (Primary Trend) พร้อมกับการใช้สัญญาณต่างๆ เช่น Volume หรือ สัญญาณการกลับตัว เข้าร่วมประกอบการตัดสินใจในการเข้าเทรดหรือเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวได้ เช่น หากเรามองว่าสินทรัพย์นั้นได้ปรับราคาลงมามากแล้วและเริ่มมีสัญญาณกลับตัว มีปริมาณการซื้อขายที่มากผิดปกติ สอดคล้องกับราคาที่ได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วบ้าง เราสามารถนำทฤษฎีนี้มาประกอบการตัดสินใจในการหาจุดเข้าซื้อที่เห็นว่าเหมาะสมได้

ทฤษฎีดาว นั้นมีความคล้ายคลึงกันกับ ทฤษฎี Wyckoff Logic ด้วยการสอนวิธีวิเคราะห์ภาพรวมของการเคลื่อนไหวในตลาดได้เป็นอย่างดี

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.