หากคุณเป็นสายรันเทรนด์มีคติประจำใจ “Trend is your friend” ก็คงจะต้องเคยได้ยินชื่อ Parabolic SAR ผ่านหูบ้าง เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือจับเทรนด์ที่โด่งดังและถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยเครื่องมือนี้จะมีลักษณะคล้ายๆจุด “ไข่ปลา” ถูกสร้างขึ้นมาโดยเทรดเดอร์และวิศวกรชาวอเมริกันอย่าง J. Welles Wilder ซึ่งเป็นผู้คิดค้นและพัฒนา Indicator ชื่อดังอย่าง Relative Strength Index (RSI), Average True Range (ATR) และ Average Directional Index (ADX)
Parabolic SAR คือ อินดิเคเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยชี้ให้เห็นถึง 3 สิ่งดังนี้
- หาเทรนด์
- บอกจุดเข้าและจุดออกที่ชัดเจน โดยคำว่า “SAR” ย่อมายาก Stop and Reversal นั่นเอง
- บอกความแรงของการเคลื่อนไหวของราคา
การใช้งาน Parabolic SAR
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ Parabolic SAR นั้นถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายเป็นเพราะ concept ที่เข้าใจได้ง่าย โดยหากดูกราฟ ตัวบ่งชี้จะปรากฏเป็นลักษณะจุด “ไข่ปลา” ที่อยู่ด้านบนกราฟ หรือ ด้านล่างของแท่งเทียน โดย “ไข่ปลา” เหนือกราฟราคาจะแสดงให้เห็นถึงสภาวะตลาดหมี (Bearish: ตลาดขาลง) และโมเมนตัมมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในขาลง และหากกราฟกลับตัวเป็นภาวะตลาดกระทิง (Bullish: ตลาดขาขึ้น) จุด “ไข่ปลา” นี้ก็จะอยู่ด้านล่างกราฟราคานั่นเอง
จากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า Parabolic SAR ใน MT5 จะอยู่ภายใต้ Indicator แบบ “Trend” และแสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ราคาเป็นขาขึ้น จุดไข่ปลา (สีชมพู) จะอยู่ด้านล่างแท่งเทียน
ดังนั้นในเมื่อจุดไข่ปลาอยู่ด้านล่าง เทรดเดอร์สามารถเข้า Position “Buy/Long” ได้ โดยหาจุดไข่ปลาไปอยู่ด้านบนเมื่อไหร่ นั่นคือจุดที่เทรดเดอร์ควรที่จะ Take Profit และเปิด Position “Sell/Short” นั่นเอง
Parabolic SAR ช่วยบอกความแรงของเทรนด์
นอกเหนือจากจุดเข้าและจุด Take profit เพื่อเข้าใหม่แล้ว อินดิเคเตอร์ Parabolic SAR นี้ ยังสามารถบอกความผันผวน หรือ “ความแรง” ของเทรนด์ได้อีกด้วย โดยจากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ไข่ปลาชิด นั่นแปลว่า เทรนด์ “ไม่แข็งแรง” คือราคาจะไม่ได้มีความผันผวนมาก แต่เมื่อใดก็ตามที่ไข่ปลาห่างกัน นั่นแปลว่า เทรนด์มีความ “แข็งแรง” โดยจะเห็นได้ว่า กราฟราคาได้กระชากขึ้นไปเป็นแท่งที่ยาวกว่าแท่งชุดที่ไข่ปลาติดกัน บ่งบอกถึงความผันผวนของราคา
การใช้อินดิเคเตอร์อื่นประกอบการใช้งาน
เนื่องจากอินดิเคเตอร์ Parabolic SAR คือ เครื่องมือที่ถูกออกแบบมาให้คอยบอกเทรนด์ตลอด ไม่ว่าจะเทรนด์จริง หรือ เทรนด์หลอก ดังนั้นการนำอินดิเคเตอร์อื่นๆมาประกอบการตัดสินใจในการเทรดก็จะช่วยทำให้การจัดสินใจเทรดแหลมคมได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ADX, MA หรือ แนวรับแนวต้าน เป็นต้น
ตัวอย่าง การใช้ EMA ประกอบการเทรดคู่กับ Parabolic SAR
ตัวอย่างจากภาพด้านบน เช่น หากนำ EMA เส้นเฉลี่ย 70 มาใช้ด้วยอย่างภาพประกอบด้านบน สัญญาณซื้อขายจาก Parabolic SAR จะน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อเส้นเมื่อแท่งเทียนยืนเหนือหรือต่ำกว่าเส้น EMA ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากเราใช้ Parabolic SAR ในการหาจุดเข้าซื้อและขายอย่างเดียว เราจะเข้าๆออกๆบ่อยมาก และหากเรานำ 2 อินดิเคเตอร์มาประกอบกัน เราจะได้จุดเข้าจุดออกดังนี้
จุดเข้า
- เมื่อไข่ปลาอยู่ต่ำกว่ากราฟ
- เมื่อแท่งเทียนตัดข้ามเส้น EMA ขึ้นไป
ดังนั้นเมื่อสัญญาณทั้ง 2 ตัวให้ครบ เราก็จะเข้า Buy ในจุดที่วงกลมสีเขียว
จุด Take Profit และ เข้าใหม่
- เมื่อราคาวิ่งขึ้นมาแล้วมีสัญญาณกลับตัว นั่นคือไข่ปลาอยู่เหนือกราฟ
- เมื่อแท่งเทียนตัดข้ามเส้น EMA ลงมา
เมื่อ 2 เช็คลิสต์ ครบ ก็จะเป็นสัญญาณที่ต้อง Take Profit จากสถานะ Buy ที่เปิดมาจากข้างล่างและเริ่มเปิดสถานะ Sell ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากเราใช้ EMA ประกอบด้วย เราจะสามารถรันเทรนด์ได้ยาวกว่าการใช้ Parabolic SAR อย่างเดียว
ข้อจำกัดการใช้งาน
Parabolic SAR นั้นเป็นอินดิเคเตอร์ที่ให้สัญญาณอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สนว่าเทรนด์นั้นจะ “มีคุณภาพหรือไม่” พูดง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์จริง หรือเทรนด์หลอก อินดิเคเตอร์ “ไข่ปลา” นี้ ก้จะบอกเราให้เราซื้อ/ขาย อีกทั้งยังไม่เหมาะในการเล่นในตลาดที่เป็น Sideways (สภาวะวิ่งอยู่ในกรอบสะสม) ดังนั้นการนำอินดิเคเตอร์อื่นๆมาช่วยในการประกอบการตัดสินใจในการเทรด จะสามารถช่วยลด Noise หรือ “เทรนด์หลอก” ออกไปได้