...

การเทรดแบบ Scalping คือ

Table of Contents

Scalping วิธีการเทรดสายซิ่ง คือ ?

ในโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่งของตลาดการเงิน จะมีโอกาสให้เราได้ทำกำไรอยู่เสมอ แม้แต่เสี้ยววินาที….ก็มีโอกาสนั้นอยู่ โดยกลยุทธ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่ day trader นั่นคือการเทรดแบบ “Scalp” ซึ่งเป็นเทคนิคการซื้อขายระยะสั้นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาเพียง “เล็กน้อย”ในตลาด ต้องใช้การตัดสินใจที่รวดเร็ว และมีแนวทางที่มีระเบียบวินัย โดยสาย Scalp จะมี mindset ที่แตกต่างจากสายรันเทรนด์อย่างสิ้นเชิง โดย Mindset หลักของสาย Scalper นั่นคือ เก็บเล็ก ผสมน้อย เน้นขยัน และมี Winrate ที่สูง ในขณะที่สายรันเทรนด์ จะออกออกเดอร์น้อยมาก แต่เน้นการกินกำไรคำใหญ่คำเดียว

ดังนั้น การเทรดแบบ Scalping คือ สิ่งที่เหมาะกับนักเทรดสายซิ่งเท่านั้น โดยเราจะเรียกเทรดเดอร์สาย Scalp ว่า “ Scalper” โดยเทรดเดอร์เหล่านี้จะเน้นกลยุทธ์การเทรดที่เทรด Timeframe หลักนาที ไปจนถึงวินาที ซึ่งแตกต่างจากกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวที่มุ่งเน้นไปที่การจับความเคลื่อนไหวของราคาที่ในรอบใหญ่  Scalper จะเน้นเทรดในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เข้าง่าย ขายคล่อง เช่น หุ้นที่ volume เยอะๆ Forex สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) คริปโต หรือดัชนี เป็นต้น

ลักษณะของการเทรดแบบ Scalping

ใช้ Timeframe เล็ก

การเทรดแบบ Scalping เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาในช่วงสั้นๆ โดยวิธีหรือตำแหน่งการซื้อ/ขายก็จะต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจจะใช้การเล่นแบบ Breakout หรือบางคนอาจจะใช้การนับเวฟ (Elliott Wave) แต่สาย Scalp ที่ดูกราฟ จะต้องใช้ทามเฟรมระดับนาทีในการตัดสินใจ โดยอาจจะดูภาพรวมของเทรนด์ใหญ่เป็นหลัก ส่วนเทรดเดอร์ที่เป็นสายดู Bid Offer โดยไม่ต้องดูกราฟ ก็จะต้องตัดสินใจภายในช่วงเวลาหลักวินาทีเช่นกัน

เทรดบ่อย

เทรดเดอร์ Scalp ดำเนินการซื้อขายจำนวนมากในเซสชั่นการซื้อขายเดียว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำไรเล็กน้อยจากการซื้อขายแต่ละครั้ง ผลสะสมของกำไรเล็กน้อยเหล่านี้สามารถนำไปสู่ผลกำไร “ก้อนใหญ่” เมื่อเวลาผ่านไป

กำไรเล็กน้อยต่อการเทรด

ในการเทรดแบบ Scalping เป้าหมายคือการสะสมกำไรจำนวนเล็กน้อยให้มากขึ้น แทนที่จะถือครองไว้เพื่อผลกำไรที่มากขึ้น โดยเทรดเดอร์มักจะตั้งเป้าหมายกำไรที่จำกัด ซึ่งมักจะเป็นเพียงไม่กี่เซนต์หรือ pips และออกจากตำแหน่งเมื่อบรรลุจุด Take Profit เหล่านั้น โดยสาย Scalper มักใช้ RRR แค่ 1:1 เท่านั้น แต่จะเน้น win rate ที่สูง

การจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวด

เนื่องจาก Scalper เทรดถี่ จึงต้องใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดเพื่อปกป้องเงินต้น โดยการยึด mindset “ไม่ให้ ก็คืน” ซื้อส่วนใหญ่ Scalper จะตั้งจุด stop ไม่ลึก เพื่อไม่ให้เจ็บหนัก และมีหน้าตักในการเทรดไม้อื่นเมื่อเห็นโอกาสที่เหมาะสม

กลยุทธ์การเทรด Scalping

ในการเทรดแบบ Scalping นั้น เทรดเดอร์สามารถนำกลยุทธ์ทางเทคนิคที่ตนมีความชำนาญมาประกอบการตัดสินใจได้ ไม่ว่าจะเป็น Price Action, Price Pattern, หรือการใช้ Indicator แบบ Leading อย่างเช่น Ichimoku หรือ Fibonacci เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้ กลยุทธ์ Breakout กลยุทธ์นี้เกี่ยวข้องกับการระบุระดับราคาที่ตลาดมีแนวโน้มที่จะ “เบรกกรอบ” หรือ “Breakout” โดยจะใช้ Price Patterns เป็นหลัก เช่น Triangle และเข้า Position เมื่อราคาทะลุออกจากรูปแบบเหล่านี้เป็นต้น

Scalping Day
EUR/JPY – Timeframe “Day”

Step 1

ดู Timeframe ใหญ่ก่อน โดยรูปด้านบนคือภาพ Timeframe Day โดยเห็นว่าเทรนด์เป็นขาขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2020 ซึ่งตามหลัก ทฤษฎี Dow Theory จะเห็นได้ว่าภาพใหญ่ยังเป็นขาขึ้น ดังนั้นเราควรจะหาโอกาสเล่นในหน้าที่เป็นขาขึ้น

Scalping Hour
EUR/JPY – Timeframe “1-hour”

Step 2

Zoom in ดูภาพที่เล็กลงมา นั่นคือ timeframe 1 ชั่วโมง จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า ใน Timeframe 1 ชั่วโมง กราฟยังคงเป็นขาขึ้น แต่มีการลงมาเทสบริเวรกรอบ Trend Line ดังนั้น ในจุดนี้ เราจึงสามารถเทรดได้ด้วย Logic ที่วางแผนแบบ คาดหวังให้ราคาหลุดกรอบ หรือ คาดหวังให้ราคาเด้งขึ้นไปก็ได้ แต่จากที่กล่าวไปใน Step ข้อที่ 1 คือ เมื่อภาพใหญ่ ยังเป็น “ขาขึ้น”  และ Timeframe ชั่วโมงก็ยังเป็นขาขึ้น ดังนั้นเราไม่ควรจะ “สวนเทรนด์” เล่นขาลง ควรหาโอกาสเล่นขาขึ้น จะปลอดภัยมากกว่า

Scalping Minutes
EUR/JPY – Timeframe “1-minute”

Step 3

Zoom in เข้ามาอีกเพื่อหาจุดเข้า และเมื่อเข้ามาดู Timeframe 1 นาทีจากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า กราฟราคา ไม่สามารถผ่านเส้นกดของ Timeframe 1 นาที (เส้นสีชมพู) ไปได้ นอกเหนือจากนั้นยังไม่หลุด Trend Line ของ Timeframe 1 ชั่วโมง นั่นคือเส้นสีขาว ดังนั้น  Logic ในการมองขึ้นจึงจะดูได้เปรียบมากกว่าการมองลง

ดังนั้นจากภาพด้านบน เราจึงสามารถวางแผนเทรดขาขึ้นโดยวาง Take Profit ที่กรอบสะสมชุดเก่าได้ดังภาพตรงจุดที่ขีดเส้นประ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า หากภาพใหญ่ ยังเป็นขาขึ้นที่ยังไม่ “เสียทรง” ดังนั้น เราควรจะให้น้ำหนักไปที่การเทรดในหน้า Buy/Long มากกว่า

ข้อดี – ข้อเสียของการเทรดแบบ Scalping

ข้อดี ของการ Scalping

กำไรอย่างรวดเร็ว

การเทรดแบบ Scalp มีจุดมุ่งหมายเพื่อจับส่วนต่างของราคาเล็กน้อยภายในกรอบเวลาอันสั้น กลยุทธ์นี้ช่วยให้นักเทรดสามารถสะสมผลกำไรจำนวนเล็กน้อยได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกำไรโดยรวมที่ใหญ่เมื่อเวลาผ่านไป

มีโอกาสให้หากำไรตลอดทั้งวัน

Scalper สามารถหาโอกาสในการซื้อขายได้แม้ในตลาดที่ค่อนข้างคงที่หรือเคลื่อนไหวช้า สิ่งนี้ให้โอกาสในการเข้าและออกจากการซื้อขายบ่อยขึ้น

ลดความเสี่ยงต่อตลาด

Scalping คือการถือ position ในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยปกติจะเป็นนาทีหรือวินาที สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของตลาดในชั่วข้ามคืนหรือระยะยาว เช่น เหตุการณ์ข่าวที่ไม่คาดคิดที่อาจมาวันเสาร์อาทิตย์ โดยที่คุณยังมีสถานะค้างไว้จากวันศุกร์ โดยต้องรอให้ตลาดเปิดถึงจะออก action ได้ สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดกับ Scalper เพราะส่วนใหญ่ หลักการของ Scalper จะซื้อขายจบภายในวัน

ส่งเสริมระเบียนวินัย

การเทรดแบบ Scalp ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและดำเนินการเทรดทันที นอกจากนี้ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะต้องทำการบ้านมาก่อนเห็นกราฟหน้างาน ว่ากราฟนี้ ในภาพใหญ่เป็นเทรนด์แบบไหน เมื่อตลาดเปิดก็จะสามารถ action ได้เลย ซึ่งเรื่องนี้สามารถช่วยพัฒนาระเบียบวินัยเพื่อทักษะการเทรดที่เฉียบคมได้ โดยหากไม่ได้ ก็แค่ “คืน” หรือยอมโดน Stop-loss นั่นเอง

ข้อเสีย ของการ Scalping

ต้นทุนการทำธุรกรรมสูง

การซื้อขายบ่อยอาจส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกรรมสูงขึ้น เนื่องจากการเทรดต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น สเปรด และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขาย ดังนั้น เมื่อเทรดบ่อยขึ้น ก็ต้องจ่ายมากขึ้น 

อารมณ์และความเครียดที่เพิ่มขึ้น

การเทรดแบบ Scalp ต้องการการตัดสินใจที่รวดเร็วและการติดตามตลาดอย่างต่อเนื่อง สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้อาจต้องใช้จิตใจและความท้าทายทางอารมณ์ เทรดเดอร์ต้องจัดการกับความเครียด หลีกเลี่ยงการเทรดแบบหุนหันพลันแล่น และจดจ่ออยู่กับกลยุทธ์ของตน

เหนื่อยและผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเท่าคนรันเทรนด์

เทรดเดอร์ Scalp มุ่งหวังผลกำไรเล็กน้อยต่อการซื้อขาย ซึ่งมักจะเป็นเพียงไม่กี่เซ็นต์หรือไม่กี่ pips และแม้ว่ากำไรเหล่านี้สามารถสะสมเมื่อเวลาผ่านไป หากมองในระยะยาว การเทรดแบบ Scalping จะกินคำใหญ่ไม่ได้เท่าคนรันเทรนด์ โดยบางทีหากเทียบแล้ว คนรันเทรนด์อาจจะกำไรเยอะกว่าหรือพอๆกัน จากการเทรดที่น้อยครั้งกว่า

ความเสี่ยงของการโอเวอร์เทรด

เทรดเดอร์แบบ Scalping อาจ Overtrade ซึ่งนั่นหมายความหมาย อาจจะเทรดเยอะเกินไป หรือเทรดใน Position ที่เยอะมากเกินแผน เนื่องจากการที่เฝ้ามองตลาดทั้งวัน จะทำให้รู้สึกอยากเทรด เพราะเห็นโอกาสเต็มไปหมด ซึ่งนั่น อาจเป็นกับดักได้

การพึ่งพาเทคโนโลยี

การเทรดแบบ Scalp ต้องใช้เทคโนโลยีที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ รวมถึงแพลตฟอร์มการซื้อขาย ข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์ และการดำเนินการตามคำสั่ง การพึ่งพาเทคโนโลยีทำให้นักเทรดมีความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องทางเทคนิค ปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือความล้มเหลวของระบบ ซึ่งสามารถขัดขวางกิจกรรมการซื้อขายและอาจนำไปสู่การพลาดโอกาสหรือการสูญเสียของ Position หรือพอร์ตก็เป็นได้

บทสรุป

การเทรดแบบ Scalping คือ กลยุทธ์ที่น่าสนใจสำหรับเทรดเดอร์สายซิ่งที่ชอบการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น ที่สำคัญ เทรดเดอร์สายนี้ ต้องมีเวลาเฝ้าจอด้วย สิ่งสำคัญสำหรับ Scalper คือต้องเข้าใจ Dynamic ของการเทรดแบบ Scalping อย่างถี่ถ้วน ฝึกฝนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม และฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.