สรุปประเด็น
– The Great Depression คือวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลกมากที่สุดในศตวรรษที่ 20
– The Great Depression เกิดจากหลายๆปัจจัยผสมกันอย่าง การที่ทหารปลดระวางหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และกลับเข้าสู่ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้ผลผลิตมีมากเกินความต้องการ บริษัทต่างๆยังไม่ได้กำไรแม้ราคาหุ้นจะขึ้นเอาๆ เหตุการณ์ Black Thursday ในปี 1929 ก็เป็นหนึ่งในตัวแปลสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
– The Great Depression มีระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี ผลกระทบจากวิกฤตทำให้เกิดอัตราการว่างงานสูงมาก ผู้คนตกงาน เผชิญกับความยากลำบาก และเกิดการประท้วงและก่อจลาจลบ่อยครั้ง
– รัฐบาลหลายๆประเทศนำบทเรียนข้อผิดพลาดที่ได้รับจาก The Great Depression มาปรับใช้กับนโยบายและกฎหมายต่างๆที่ครอบคลุมไปทั้งฝั่งเศรษฐกิจ ฝั่งความมั่นคง และฝั่งสวัสดิการสังคมเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก
The Great Depression หรือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของประวัติศาสตร์โลกที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯแพร่กระจายไปที่ยุโรปและกระทบทั่วโลกในที่สุดในช่วงปี 1929 – 1941 เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อโลกที่ใหญ่ที่สุดและมีระยะยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ (Modern World History)
หลังจากที่สหรัฐฯได้พบกับวิกฤตเศรษฐกิจระยะสั้นๆหรือที่รู้จักกันในชื่อ The Forgotten Depression ในช่วงปี 1920 – 1921 เศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นก็ได้ Recover และกลับมารุ่งเรืองเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ยาวๆเป็นเวลาเกือบศตวรรษตั้งแต่ปี 1921 – 1928 เพราะรัฐได้มีการอัดฉีดเงินเข้าระบบเป็นจำนวนมาก เมื่อเงินอยู่ในระบบมาก ก็แปลว่าทั้งบริษัทและผู้คนก็ต่างกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ผู้คนต่างจับจ่ายใช้สอยเกินตัวในช่วงยุคเศรษฐกิจทองนี้ เพราะคิดว่าไม่มีอะไรต้องกังวล แต่หารู้ไม่ว่าฟองสบู่ใหญ่นี้กำลังรอวันที่จะแตก
สาเหตุของการเกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
สาเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้นมีหลายปัจจัย โดยมีจุดเริ่มต้นจากช่วงตอนจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1918 เมื่อทหารปลดระวางจากสงครามก็กลับบ้านเพื่อไปทำงานภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมในโรงงานซึ่งเป็นสองในอุตสาหกรรมหลักๆของอเมริกาในสมัยนั้น เมื่อมีแรงงานจำนวนมาก ก็สามารถผลิตผลผลิตออกมาได้มากเช่นกัน แต่ทว่ามากเกินความต้องการของตลาด ส่งผลให้ราคาของผลผลิตนั้นตกต่ำมาก แถมค่าแรงงานก็ยังต่ำ เพราะมีจำนวนมากเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน ในช่วงที่ดอกเบี้ยยังต่ำ ทั้งผู้คนและบริษัทก็ต่างกู้หนี้ออกมาจับจ่ายใช้สอย ในฝั่งของบริษัทเองก็เอาเงินไปลงทุนแม้จะยังไม่ได้กำไรเพราะต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากนำเครื่องจักรมาช่วย สินค้าที่ผลิตได้ก็ต้องขายถูกแถมไม่มี Demand ที่เพียงพอ ในฝั่งของบริษัทจึงกู้เงินออกมาหมุนเรื่อยๆ แม้จะยังไม่มีกำไร หุ้นก็ขึ้นเอาๆ จนในที่สุดรัฐก็ได้ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ ส่งผลให้นักลงทุนเทหุ้นเพื่อมาเข้า Bond ตลาดหุ้นจึงถูกเทและปรับตัวลงกว่า 20% ภายในระยะเวลาสัปดาห์เดียวเท่านั้น
เรามาดูปัจจัยกันทีละข้อได้ดังนี้
1) ตลาดหุ้น Crash อย่างหนัก
มีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้เกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นเช่น การที่บริษัทกู้เงินมาลงทุน และแม้ในบริษัทหลายๆที่จะยังไม่ได้กำไร ราคาหุ้นมีแต่สูงขึ้นๆ หรือถูกประเมินในราคา Overvalued นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดหุ้นก็ชินกับขาขึ้นมาเกือบ 10 ปี ซื้ออะไรก็ขึ้น แถมยังซื้อแบบใช้ Margin ด้วย ในที่สุดฟองสบู่ก็แตกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1929 เกิดเหตุการณ์เทขายหุ้นที่เรียกว่า Black Thursday หลังจาก Bull Run ครั้งใหญ่ในอเมริกาตั้งแต่ปี 1921 – 1929 ในวันนั้นเอง Dow Jones Index ปรับตัวลงกว่า 11% ในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง หลังจากนั้นตลาดก็แพนิคตาม จนเกิด Black Friday ในวันต่อมา และเกิด Black Monday และ Black Tuesday ตามมาในอาทิตย์ถัดมา
หลังจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกในเดือนตุลาคมปี 1929 สามปีถัดมา Dow Jones Industrial Average เป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง และได้ทำจุดต่ำสุดที่ $40.56 ในวันที่ 8 กรกฎาคม 1932 จากจุดก่อนฟองสบู่แตกที่ราคา $386.10 คิดเป็นการปรับตัวลงเกือบ 90% และที่หนักหนาสาหัสกว่านั้นคือตลาดใช้เวลากว่า 25 ปี ที่ราคาจะกลับมาจุดเดิมก่อนที่ฟองสบู่แตกและเบรกราคา 386.10 ขึ้นไปได้ในเดือนพฤศจิกายนปี 1954
2) มี อุปทาน (Supply) สูงเกินกว่าอุปสงค์ (Demand)
ในช่วงปี 1920 เป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมเติบโตอย่างก้าวกระโดดซึ่งบริษัทต่างๆก็มี Supply ที่ผลิตออกมาเยอะมาก เนื่องจากแรงงานเยอะ และจ่ายแรงงานได้ถูกเนื่องจากมีแรงงานเป็นจำนวนมาก เมื่ออุปสงค์ไม่ได้มีเยอะเท่าอุปทานเป็นระยะเวลานานๆ บริษัทต่างๆจึงเริ่มมีปัญหาและหนี้สะสมมาเป็นระยะเวลาหลายปี เมื่อบริษัทหลายๆที่เริ่มเบี้ยวหนี้ ธนาคารก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่มากขึ้น
หลังจากฟองสบู่แตกในปี 1929 อัตราการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในอเมริกาปรับตัวลงกว่า 47% ในปี 1932 เมื่อเทียบกับอัตราการผลิตก่อนที่จะเกิดวิกฤต
3) ธนาคารไม่มีมาตรฐานในการบริหารและจัดการความเสี่ยง
ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่สะสมมากหลายปีทำให้ธนาคารเองขาดสภาพคล่องและแบกรับความเสี่ยงอยู่มาก อย่างเช่น ไม่มีมาตรฐานในการตรวจเช็คเครดิตของบริษัทหรือลูกค้าที่จะมาขอกู้เงิน และเมื่อตลาดหุ้น Crash ธนาคารหลายๆแห่งก็เสียหายอย่างหนัก เพราะได้มีการนำเงินฝากของลูกค้าไปลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเพราะคิดว่าตลาดหุ้นจะขึ้นต่อเรื่อยๆ(Over-Speculation) เมื่อเกิดข่าวลือว่าธนาคารจะไม่มีเงินจ่ายเพราะหมดไปกับตลาดหุ้น คนก็ไปแห่ถอนเงินจากธนาคาร ซึ่งนั่นเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดที่ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่องเข้าไปอีก
ในช่วงปี 1929 – 1933 มีธนาคารเกือบ 11,000 แห่งที่ล้มละลายหลังจากฟองสบู่แตก ซึ่งความน่ากลัวคือ ในยุคนั้นรัฐบาลยังไม่มีกฎการประกันเงินฝาก (Deposit Insurance) นั่นแปลว่าเงินฝากมูลค่ากว่า 7 พันล้านดอลลาร์ของชาวอเมริกันหลายล้านคนก็หายไปกับธนาคารที่ล้มละลายเหล่านี้
ชาวอเมริกันแห่ไปถอนเงินที่ธนาคาร New York’s American Union Bank หลังจากที่มีธนาคารค่อยๆล้มไปทีละเจ้าๆในที่สุดในเดือนมิถุนายน 1931 ธนาคารแห่งนี้ก็ได้ปิดตัวลง หลังจากที่เปิดบริการมากว่า 14 ปี
4) รัฐไม่มีกฎหรือข้อบังคับที่นำมาบังคับใช้
ในยุคนั้น ยังไม่มีข้อบังคับที่ชัดเจนที่นำมาบังคับใช้กับตลาดหุ้นที่ชัดเจน นอกจากนั้นยังไม่มีระบบลิมิตการเทขยายสูงสุดต่อวันอย่างระบบ Circuit Brake ที่มีในยุคนี้อีกด้วย
ผลกระทบ
ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อทั่วโลกและได้แทรกซึมอยู่ในทุกๆด้านของสังคม ผู้คนนับสิบล้านถูกให้ออกจากงาน ความยากจนและความสิ้นเนื้อประดาตัวแผ่ขยายออกไป เมื่อธุรกิจต่างๆ พังทลายลง และธนาคารล้มละลายเกือบกว่า 11,000 แห่ง เงินออมของชาวอเมริกันจึงหายเกลี้ยง ผลกระทบกระเพื่อมขยายไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ นำไปสู่การลดลงของการค้าระหว่างประเทศ และบรรยากาศของความไม่สงบทางสังคมอย่างการประท้วง ผู้คนสูญเสียบ้านและไร้ที่อยู่อาศัย ส่งผลให้อัตราอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งวิกฤตครั้งนี้สร้างความเสียหายให้โลกอย่างมากและเป็นวิกฤตที่ยาวนานทถึง 10 ปี
ผู้คนต่อแถวรออาหารใน New York Times Square ในช่วง The Great Recession
Statistical Figures
ผู้คนนับสิบล้านไม่มีงานทำ
อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 3.9% ในปี 1929 ไปเป็น 25% ในปี 1933 ชาวอเมริกันกว่า 12 ล้านคนไม่มีงานทำและต้องดิ้นรนหาเลี้ยงครอบครัว
เศรษฐกิจถดถอย
GDP สหรัฐลดลงกว่า 30% ในช่วงปี 1929 – 1933 และผลผลิตทางอุตสาหกรรมลดลงกว่า 47% ในช่วงเดียวกัน
ตลาดหุ้นพัง
DJIA ปรับตัวลดลงเกือบ 90% ในช่วงปี 1929 – 1932 และใช้เวลาเกือบ 25 ปีเพื่อกลับมาจุดก่อนที่ฟองสบู่จะแตก
การค้าระหว่างประเทศลดลง
การค้าระหว่างประเทศลดลงกว่า 66% ในช่วงปี 1929 – 1933
วิกฤตภาคเกษตร
- ราคาผลผลิตทางการเกษตรปรับตัวลดลงกว่า 60% หลังฟองสบู่แตกส่งผลให้ชาวนาหลายล้านชีวิตต้องอยู่กับความยากจน
- รายได้ทางการเกษตรในสหรัฐลดลงจาก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 1929 เหลือ 2 พันล้านดอลลาร์ในปี 1932
ผู้คนไร้บ้าน
กว่า 250,000 ชีวิตที่ไร้บ้านและอาศัยอยู่ตามถนนในอเมริกา
Hoovervilles หรือหมู่บ้าน Hoover ที่ตั้งตามชื่อ Herbert Hoover ซึ่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในตอนนั้น คือแหล่งที่พักของคนไร้บ้านที่ตั้งอยู่ที่ Central Park ใน New York
บทเรียนจากข้อผิดพลาด
The Great Depression เป็นเหตุการณ์หนึ่งในเหตุที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นเวลากว่าสิบปีและมีผลกระทบยาวนานต่อเศรษฐกิจโลก ในขณะที่สาเหตุของ The Great Depression เป็นเรื่องซับซ้อนและมีหลายปัจจัยผสมปนเปกันให้ฟองสบู่นั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลและธนาคารหลายๆประเทศนำเหตุการณ์นี้มาเป็น Lesson Learned ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปเกือบร้อยปีแล้ว แต่ยังคงมีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจและการตัดสินใจในปัจจุบัน
1) ความสำคัญของการกำกับควบคุมในฝั่งธนาคาร
The Great Depression ทำให้เห็นถึงความจำเป็นของการกำกับจากภาครัฐในการดำเนินการทางการตลาดการเงิน รัฐบาลสหรัฐฯปฏิรูปกฎหลายอย่างเช่น กฎหมายหลักทรัพย์ของปี 1933 (Securities Act of 1933) พระราชบัญญัติ Glass Steagall ปี 1933 (the Glass-Steagall Act of 1933) ซึ่งเป็นกฎหมายของรัฐบาลกลางที่ให้แบ่งระหว่างธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการลงทุนและธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐห้ามค้าหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ซึ่งรับประกันเงินฝากถึงจำนวนที่กำหนด
2) บทบาทของนโยบายการเงินและการคลัง
รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญในการใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ โปรแกรม New Deal ของประธานาธิบดีฟรังค์ลิน รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและลดอัตราการว่างงาน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางก็ได้วางแผนสำรองเพื่อฟื้นฟูได้นำนโยบายการเงินแบบขยายตัวมา (Expansionary Monetary) ใช้เพื่อเพิ่มสินเงินในระบบเศรษฐกิจและลดอัตราดอกเบี้ย
3) ความจำเป็นของการร่วมมือระหว่างประเทศ
The Great Depression ได้เน้นความจำเป็นของความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ การค้าขายระหว่างประเทศก็ลงลดเพราะแต่ละประเทศจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนสินค้าภายในประเทศและงดการนำเข้า การเกิดขึ้นของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF: International Monetary Fund) และธนาคารโลก (World Bank) หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองคือหนึ่งในบทเรียนที่ได้รับจากวิกฤตครั้งนี้
4) ความสำคัญของระบบความปลอดภัยทางสังคม
วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่นี้ได้เน้นให้ทุกฝ่ายได้เห็นถึงความจำเป็นของระบบเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อปกป้องกลุ่มประชากรที่อ่อนแอในช่วงเวลาที่เผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาจะมีโปรแกรมอย่าง Social Security และการประกันการว่างงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องการในยามยากลำบาก
The Great Depression เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่ส่งผลกระทบทั่วโลก อย่างไรก็ตาม วิกฤตนี้ยังได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆที่สำคัญทั่วโลกและเป็น Lessons Learned ที่ช่วย Shape ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัยเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต