...

ประวัติความเป็นมาของ Abenomics คือ อะไร มีที่มาอย่างไร ?

Table of Contents

Abenomics คือ

Abenomics คือ นโยบายทางการเงินของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกเสนอในปี 2012 โดยนาย Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีคนที่ 57  ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างประเทศหลายสำนักได้มีความคิดเห็นที่ตรงกันว่านโยบาย ‘Abenomics’ นี้ มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ Shinzo Abe ชนะการเลือกตั้งและกลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีในที่สุด  

ผลกระทบจากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์แตกในช่วงรอยต่อปลาย 1980s ต้นยุค 1990s ทำให้เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ซึ่งนั่นทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก เพราะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นนั้นต้องพึ่งอัตราการส่งออกเป็นอย่างสูง เมื่อเศรษฐกิจโลกไม่ดี อัตราการส่งออกจึงชะลอตัวลง และนั่นทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจชะงัก (stage of stagnation) กว่าสองทศวรรษ ด้วยสภาวะเงินฝืด(Deflation)ที่เกิดขึ้นในประเทศ ทำให้ผู้คนไม่อยากที่จะจับจ่ายใช้สอย ประกอบด้วยการลงทุนที่ซบเซาของภาคเอกชน จึงทำให้เกิดปัญหาต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจนผู้คนต่างขนานนามว่า Lost Decade หรือทศวรรษที่สูญหายของญี่ปุ่น จากเดิมเคยเป็นดาวรุ่งทางเศรษฐกิจของโลกอย่างขีดสุดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เมื่อ Shinzo Abe ชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 2 และได้เข้ารับตำแหน่งในเดือนธันวาคมของปี  2012  เขามีความตั้งใจที่จะนำพาเศรษฐกิจให้ก้าวข้ามสภาวะเศรษฐกิจชะงักนี้ โดยเขาได้เสนอถึงกลยุทธ์สามอย่าง ที่ภายหลังถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า ‘Abenomics’ นั่นคือ 

  1. นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Easing Monetary Policy)
  2. นโยบายการคลังเชิงกระตุ้นเศรษฐกิจ (Stimulus Fiscal Policy)
  3. การปฏิรูปด้านโครงสร้าง (Structural Reforms)

ลูกศร 3 อย่างใน ‘Abenomics’

1) นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Easing Monetary Policy) 

นโยบายเงินเชิงผ่อนคลายนั้น เน้นการจัดการปัญหาเงินฝืดซึ่งเป็นปัญหาหลักของการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยธนาคารแห่งญี่ปุ่น (BoJ) เปลี่ยน framework นโยบายเงินใหม่โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อขึ้นให้เป็น 2% โดยรัฐจะต้องอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มปริมาณการหมุนเวียนเงินในตลาด ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าและกระตุ้นภาคส่งออก 

การลดอัตราดอกเบี้ยนั่นจะช่วยส่งเสริมในเรื่องการปล่อยเงินกู้ที่เยอะขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปและภาคเอกชนสามารถกู้ยืมเงินได้ในอัตราที่ต่ำลงเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเอกชนในระยะยาวด้วย

2) นโยบายการคลังเชิงกระตุ้นเศรษฐกิจ (Flexible Fiscal Policy)

กลยุทธ์นโยบายการคลังนั้นเป็นลูกศรที่สองของ Abenomics ซึ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มอัตราการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นความต้องการ (Demand) และส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษี คิดเป็นวงเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ การให้เงินช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งเสริมการลงทุน และสร้างรายได้ซึ่งจะทำช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตได้

3) การปฏิรูปด้านโครงสร้าง (Structural Reforms)

การปฏิรูปด้านโครงสร้างนั้น ตั้งเป้าถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ที่มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจของประเทศ อาทิเช่น การปฏิวัติด้านธุรกิจ เพิ่มจำนวนผู้หญิงในภาคแรงงาน ปลดปล่อยตลาดแรงงานให้เป็นอิสระให้บริษัทสามารถจ้างและเลิกจ้างพนักงานได้ง่ายขึ้น และการสนับสนุนให้มี แรงงานจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศ เพื่อช่วยลดปัญหาความขาดแคลนของภาคแรงงานและสนับสนุนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

ความสำเร็จ และ ความผิดพลาด ของ Abenomics 

Success Story

  • มีรายงานว่า ในเดือนสิงหาคม ปี 2021 อัตราการว่างงานได้ลดลงจาก 4.2% ในเดือนธันวาคม 2012 มาเป็น 2.8% ในเดือน สิงหาคม 2021 อัตรานี้ชี้ให้เห็นว่านโยบายนี้ทำได้ตามเป้าในการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ การลงทุนของภาคเอกชน และส่งเสริมภาคแรงงาน
  • นโยบายต่างๆได้ช่วยผลักดันการเติบโตในประเทศ และเงินไหลเข้าตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยราคาดัชนี Nikkei 225 ได้ปรับตัวสูงขึ้น 2 เท่า เทียบกับเดือนธันวาคมปี 2012
  • เงินเยนอ่อนค่า และนั่นเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ภาคส่งออกกลับมาคึกคักขึ้น

Abenomics คืออะไร

Critiques on Abenomics

  • Benefits ที่ให้แก่ภาคเอกชนนั้นยังไม่มากพอที่จะสามารถทำให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายของครัวเรือนได้
  • นโยบายนี้ได้ทำให้หนี้สาธารณะของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเพิ่มสูงขึ้นเป็นอัตรา 200% มากกว่า GDP
  • แม้ว่าในช่วงปี 2015 – 2017 ภายใต้นโยบายการเงินแบบ Abenomics เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นได้เติบโตอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8 ไตรมาศ ซึ่งเป็นระยะเวลาเติบโตต่อเนื่องที่สูงสุดในรอบ 30 ปี อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีโครงสร้างคล้ายกับญี่ปุ่นและเมื่อเทียบอัตราการเติบโตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่ได้เติบโตเท่าที่ควร
ค่าแรง เปรียบเทียบ

การยกเลิกใช้นโยบาย Abenomics

นโยบาย Abenomics ได้หยุดใช้เมื่อโลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 และภายหลัง Shinzo Abe ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพในเดือน สิงหาคม 2020 และเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2022 ทั่วโลกก็ต้องตกใจเมื่อสื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นอย่าง NHK รายงานว่า Shinzo Abe ได้เสียชีวิตลงแล้วในวัย 67 ปี หลังถูกลอบยิงขณะกำลังปราศรัยที่เมืองนารา ประเทศญี่ปุ่น

Abe เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์การเมืองญี่ปุ่นนานที่สุด โดยเคยชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้ถึง 3 ครั้งในช่วงปี 2006-2007 และปี 2012-2020 นอกจากนี้ยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของรัชสมัยเฮเซภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในรัชสมัยเรวะภายใต้สมเด็จพระจักรดินารุฮิโตะหลังจากที่ญี่ปุ่นผลัดแผ่นดิน

Sources

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.