PMI คือ
PMI คือ Purchasing Managers’ Index ที่ทำหน้าที่เป็นดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่วัดการขยายตัว หรือ หดตัวของเศรษฐกิจจากการซื้อสิ้นค้าของผู้จัดการ ซึ่งวัดว่า ผู้จัดการของบริษัทต่างๆที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้มีการสั่งซื้อสินค้าในภาคการผลิตและบริการมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า
ในสหรัฐอเมริกา PMI ถูกสำรวจทุกเดือนโดย ISM (Institute for Supply Management) ซึ่งสำรวจจากการสอบถามผู้จัดการฝ่ายซื้อ หรือผู้บริหารฝ่ายสูงจากกว่า 400 บริษัทใน 19 อุตสาหกรรมหลักโดยพิจารณาจาก 5 ตัวแปรหลักดังนี้:
- คำสั่งสินค้าใหม่ (New Orders)
- ตัวเลขสินค้าที่ค้างอยู่ในคลัง (Inventory Levels)
- ผลกระผลิต (Production)
- การขนส่งสินค้าจาก Supplier (Supplier Deliveries)
- อัตราการจ้างงานในบริษัท (Employment)
ตัวเลข PMI คือ 0 – 100 โดยดัชนี PMI ที่มีค่ามากกว่า 50 แปลว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว ในทางตรงข้าม หากตัวเลขต่ำกว่า 50 แปลถึงเศรษฐกิจกำลังหดตัวลง และหากตัวเลขเท่ากับ 50 นั่นแปลว่าเศรษฐกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม นอกจาก ISM แล้ว ก็ยังมีบริษัทอื่นๆที่ทำการสำรวจตัวเลข PMI อีกเช่น IHS Markit เป็นต้น
การคำนวณ PMI
PMI = (P1 * 1) + (P2 * 0.5) + (P3 * 0)
โดย
P1 = % ของคำตอบที่รายงานถึงการขยายตัว
P2 = % ของคำตอบที่รายงานถึงตัวเลขที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
P3 = % ของคำตอบที่รายงานถึงการหดตัว
PMI มีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไร
PMI เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจที่สำคัญของ Manager ในอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์จะตัดสินใจว่าจะสั่งผลิตรถยนต์มากขึ้นหรือน้อยลงเท่าไหร่ ซึ่งจะอ้างอิงจากตัวเลขคำสั่งซื้อรถใหม่ใหม่จากลูกค้าในเดือนที่มา โดย Manager ก็จะต้องไปสั่งส่วนประกอบต่างๆ เช่น เหล็ก หรือ พลาสติก ในส่วนของ สินค้าที่ค้างอยู่ในสต็อกก็จะช่วยกำหนดปริมาณการผลิตที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องทำใหม่เพื่อบริหารสินค้าไม่ให้ขาดหรือล้นสต็อก
นักลงทุนยังสามารถใช้ PMI ในการลงทุนหรือเทรดได้ เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจได้ล่วงหน้า ทิศทางของแนวโน้มใน PMI มักจะถูกรายงานก่อนตัวชี้วัดหลักอื่นๆ อย่างเช่น GDP, ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรืออัตราการจ้างงาน เป็นต้น การติดตามการเคลื่อนไหวใน PMI สามารถช่วยให้นักลงทุนมองเห็นภาพใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในเศรษฐกิจโดยรวมได้
ผลกระทบต่อทองคำ
ดัชนี PMI สามารถมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อราคาทองคำได้ ซึ่งเมื่อดัชนี PMI เกินระดับ 50 หมายถึงเศรษฐกิจเติบโตซึ่งอาจส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นนี้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งหากมีเงินเฟ้อสูงๆในระยะยาว จะสามารถมีผลบวกต่อราคาทองคำ เพราะทองคำมักถูกมองว่าเป็นการป้องกันตัวจากเงินเฟ้อ เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่สามารถรักษาค่าของตนได้ หรือที่นักลงทุนเรียกกันว่า Safe Haven
อย่างไรก็ตามราคาของทองคำนั้นจะผันผวนไปตามปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่าง และดัชนี PMI เป็นเพียงหนึ่งในตัวเลขตัวชี้วัดที่นักลงทุนพิจารณาเมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในทองคำหรือเทรดสินค้าที่มีราคาอ้างอิงกับทองคำ
วันที่การประกาศของตัวเลข ดัชนี PMI นั้นสามารถติดตามได้ที่ ปฏิทินเศรษฐกิจ