...

Hedging คือ อะไร?

Table of Contents

Hedging คือ อะไร?

Hedging คือ อะไร? คงจะเป็นคำถามที่หลากหลายคนกำลังมองหาคำตอบอยู่ ซึ่งบทความนี้ ChartTrail ได้ตั้งใจเรียบเรียงขึ้นมาพร้อมกับเป้าหมายที่จะทำให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกระบวนการ Hedging ได้ดีมากขึ้นการ Hedge (เฮจ) หรือ Hedging (เฮจจิ้ง) แปลเป็นไทยว่า “การป้องกันความเสี่ยง” คือ การทำธุรกรรมชดเชย (Offset) เพื่อการป้องกันความเสี่ยงของสถานะหรือสินทรัพย์ที่ถืออยู่ ซึ่งการ Hedge จะเป็นการเข้าทำธุรกรรมใน Position ที่ตรงกันข้ามหลักทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยง หรือจะเป็นการเข้าทำธุรกรรมในตราสารอนุพันธ์ อย่าง Futures (ฟิวเจอร์ส) Forward (ฟอร์เวิร์ด) ออปชัน (options) และสวอป (swaps) ที่สามารถที่จะสามารถช่วย Offset ความเสี่ยงได้ 

ตัวอย่างการ Hedge ด้วยตราสารอนุพันธ์

สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทน้ำมัน 

บริษัทน้ำมันสามารถป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่ผันผวนโดยการทำสัญญาซื้อ/ขายล่วงหน้า โดยสามารถล็อกราคาขายหรือขายในอนาคตได้ เช่น บริษัท A ซื้อน้ำมันมาจากต่างประเทศ เพื่อเอามาขายในประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัท A ก็ยังมีความเสี่ยงจากเรื่องราคาที่ผันผวนของราคาน้ำมันโลก บริษัท A และบริษัทที่ขายน้ำมันให้บริษัท A  จึงทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นมา โดยระบุว่าจะล็อกเรทซื้อน้ำมันในราคาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากราคาที่จะผันผวนและสามารถช่วยให้บริษัทคำนวณต้นทุนเบื้องต้นเพื่อวางแผนธุรกิจได้

อีกธุรกิจนึงที่ทำการ Hedge น้ำมันคือ ธุรกิจสายการบิน เพราะเชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักในการดำเนินงานที่สำคัญนั่นก็คือการ “บิน” ดังนั้นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถรับประกันการซื้อราคาน้ำมันที่บริษัทสามารถคำนวณได้และจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาและจัดการค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สกุลเงิน

จากตัวอย่างด้านบน ถ้าเราคิดดีๆแล้ว บริษัท A ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยง นั่นคือ “อัตราค่าแลกเปลี่ยน” ดังนั้นบริษัทที่นำสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศที่คาดว่าจะชำระค่าสินค้าในสกุลเงินต่างประเทศสามารถป้องกันความผันผวนของสกุลเงินได้โดยการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า สัญญานี้สามารถล็อคอัตราแลกเปลี่ยนที่ผู้นำเข้าสามารถซื้อสกุลเงินต่างประเทศได้ในราคาที่ตกลงกับธนาคารได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน

อสังหาริมทรัพย์

แม้ว่าหลายๆคนจะคิดว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นแทบจะดูเหมือนไม่มีความเสี่ยงใดๆ ราคามีแต่ขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เลย ดังนั้นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือนักลงทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยใช้อนุพันธ์อสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟิวเจอร์สดัชนีอสังหาริมทรัพย์หรือออปชัน เป็นต้น 

ยกตัวอย่างเช่น นาย B เจ้าของโครงการหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คิดว่ากำลังจะเกิดวิกฤตการเงิน ในขณะที่บ้านแต่ละหลังก็เสี่ยงที่จะขายไม่ออก ครั้นจะขายทั้งหมู่บ้านก็ลำบากเพราะนักลงทุนหรือบริษัทต่างก็คิดว่าวิกฤตการเงินกำลังจะเกิดจริงๆและไม่อยากใช้เงิน ดังนั้นนาย B จึงไป Short ฟิวเจอร์สดัชนีอสังหาริมทรัพย์ พอวิกฤตมาถึงจริงๆ แม้ว่าจะยังขายบ้านไม่ได้ แต่ก็ยังได้เงินจากการ Short ดัชนีอยู่บ้าง จึงไม่เจ็บหนักเท่าไหร่ เมื่อพ้นวิกฤตไปแล้ว จึงค่อยหาวิธีวางแผนขายบ้านใหม่ 

ตัวอย่างการ Hedge ในการ “เทรด” 

การ Hedging ในการเทรดคือการที่เปิด Position ตรงกันข้ามกับ Position ที่ถืออยู่ ยกตัวอย่างเช่น มี Long XAUUSD 1 lot แต่พอเปิดมาได้ซักพักเริ่มไม่มั่นใจ คิดว่า ราคาอาจมีการกลับด้วย ดังนั้นจึงเปิด Short XAUUSD อีก 1 lot ในกรณีนี้ เรียกว่า “Fully Hedge​” หรือ Hedge เต็ม เพราะเปิด Long เท่าไหร่ ก็เปิด Short เท่านั้น ดังนั้นถ้าราคาทองวิ่งขึ้นต่อไป ไม้ที่เปิด Short ก็จะขาดทุน ในขณะที่จะได้กำไรจากไม้ Long

การ Hedge ไม่เต็ม หรือ “Partially Hedge” คือการเปิด “ไม้สวน” ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น

Buy = XAUUSD 1 lot

Sell= XAUUSD 0.5 lot

ในการซื้อขาย 1 lot หากราคาเคลื่อนที่ 1 pip จะเท่ากับ 1$ ดังนั้นหากเปิด 2 ออเดอร์นี้พร้อมกันในราคาที่เท่ากัน หากราคาเคลื่อนที่ขึ้น 5pip ผลกำไรขาดทุนจะเท่ากับ

Buy = 1$ * 5 = 5$

Sell = 0.5*-5 = -2.5$

= กำไร 2.5$

กลยุทธ์ด้านบทจะเรียกว่าการ Hedge แบบ Direct กล่าวคือ เทรดคู่ไหน ก็เปิดสวนคู่นั้น ซึ่งในการเทรดแบบ Hedging นั้น จะมีอีกแบบนั่นก็คือ “Indirect Hedge” ซึ่งแปลตรงตัวว่า การป้องกันความเสี่ยงทางอ้อมในคู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก (Positive Corelation) กับคู่สกุลเงินที่คุณต้องการป้องกันความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น buy คู่เงิน USD/THB และ sell คู่เงิน EUR/THB จะเห็นได้ว่านี่คือกลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก คือเคลื่นไหวไปในการที่ใกล้กัน หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งกราฟ USD/THB และ EUR/THB ก็จะเคลื่อนที่ลงเหมือนกัน ดังนั้น หาก เงินบาทแข็งค่าขึ้น นั่นแปลว่า position BUY ของ USDTHB จะขาดทุน ในขณะที่ EUR/THB จะได้กำไร 

Hedging คือ
กราฟ 5 นาทีของกราฟเงิน (XAGUSD) และกราฟทอง (XAUUSD) ที่มีการเคลื่อนที่ไปในทางที่สัมพันธ์กัน 

อีกตัวอย่างของ Indirect Hedge คือคู่เงิน XAG และคู่ทอง XAU โดยกราฟของทั้งสองจะเดินทางไปในทิศทางที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดังนั้น เทรดเดอร์สามารถคอยสังเกตุ และนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์การเทรดของตัวเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเทรดได้เช่นกัน

Final Thoughts

การป้องกันความเสี่ยงแบบการ Hedge เป็นการป้องกันที่สำคัญที่นักลงทุน เทรดเดอร์ หรือบริษัทต่างๆสามารถใช้เพื่อปกป้องการลงทุนของตนจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในตลาดการเงินได้ และแม้ว่าการป้องกันความเสี่ยงจะเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่มีประโยชน์ แต่ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและศึกษาให้เกิดความเชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของความเสี่ยง สภาวะตลาด และวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นก่อนที่จะทำธุรกรรมใดๆ ควรศึกษาข้อจำกัดและคำนวณหน้าเทรดหรือความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ก่อนเสมอ

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.