Hedging คือ อะไร? คงจะเป็นคำถามที่หลากหลายคนกำลังมองหาคำตอบอยู่ ซึ่งบทความนี้ ChartTrail ได้ตั้งใจเรียบเรียงขึ้นมาพร้อมกับเป้าหมายที่จะทำให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกระบวนการ Hedging ได้ดีมากขึ้นการ Hedge (เฮจ) หรือ Hedging (เฮจจิ้ง) แปลเป็นไทยว่า “การป้องกันความเสี่ยง” คือ การทำธุรกรรมชดเชย (Offset) เพื่อการป้องกันความเสี่ยงของสถานะหรือสินทรัพย์ที่ถืออยู่ ซึ่งการ Hedge จะเป็นการเข้าทำธุรกรรมใน Position ที่ตรงกันข้ามหลักทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยง หรือจะเป็นการเข้าทำธุรกรรมในตราสารอนุพันธ์ อย่าง Futures (ฟิวเจอร์ส) Forward (ฟอร์เวิร์ด) ออปชัน (options) และสวอป (swaps) ที่สามารถที่จะสามารถช่วย Offset ความเสี่ยงได้
ตัวอย่างการ Hedge ด้วยตราสารอนุพันธ์
สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทน้ำมัน
บริษัทน้ำมันสามารถป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่ผันผวนโดยการทำสัญญาซื้อ/ขายล่วงหน้า โดยสามารถล็อกราคาขายหรือขายในอนาคตได้ เช่น บริษัท A ซื้อน้ำมันมาจากต่างประเทศ เพื่อเอามาขายในประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัท A ก็ยังมีความเสี่ยงจากเรื่องราคาที่ผันผวนของราคาน้ำมันโลก บริษัท A และบริษัทที่ขายน้ำมันให้บริษัท A จึงทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้นมา โดยระบุว่าจะล็อกเรทซื้อน้ำมันในราคาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากราคาที่จะผันผวนและสามารถช่วยให้บริษัทคำนวณต้นทุนเบื้องต้นเพื่อวางแผนธุรกิจได้
อีกธุรกิจนึงที่ทำการ Hedge น้ำมันคือ ธุรกิจสายการบิน เพราะเชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักในการดำเนินงานที่สำคัญนั่นก็คือการ “บิน” ดังนั้นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถรับประกันการซื้อราคาน้ำมันที่บริษัทสามารถคำนวณได้และจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาและจัดการค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สกุลเงิน
จากตัวอย่างด้านบน ถ้าเราคิดดีๆแล้ว บริษัท A ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยง นั่นคือ “อัตราค่าแลกเปลี่ยน” ดังนั้นบริษัทที่นำสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศที่คาดว่าจะชำระค่าสินค้าในสกุลเงินต่างประเทศสามารถป้องกันความผันผวนของสกุลเงินได้โดยการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า สัญญานี้สามารถล็อคอัตราแลกเปลี่ยนที่ผู้นำเข้าสามารถซื้อสกุลเงินต่างประเทศได้ในราคาที่ตกลงกับธนาคารได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
อสังหาริมทรัพย์
แม้ว่าหลายๆคนจะคิดว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นแทบจะดูเหมือนไม่มีความเสี่ยงใดๆ ราคามีแต่ขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เลย ดังนั้นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือนักลงทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยใช้อนุพันธ์อสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟิวเจอร์สดัชนีอสังหาริมทรัพย์หรือออปชัน เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น นาย B เจ้าของโครงการหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คิดว่ากำลังจะเกิดวิกฤตการเงิน ในขณะที่บ้านแต่ละหลังก็เสี่ยงที่จะขายไม่ออก ครั้นจะขายทั้งหมู่บ้านก็ลำบากเพราะนักลงทุนหรือบริษัทต่างก็คิดว่าวิกฤตการเงินกำลังจะเกิดจริงๆและไม่อยากใช้เงิน ดังนั้นนาย B จึงไป Short ฟิวเจอร์สดัชนีอสังหาริมทรัพย์ พอวิกฤตมาถึงจริงๆ แม้ว่าจะยังขายบ้านไม่ได้ แต่ก็ยังได้เงินจากการ Short ดัชนีอยู่บ้าง จึงไม่เจ็บหนักเท่าไหร่ เมื่อพ้นวิกฤตไปแล้ว จึงค่อยหาวิธีวางแผนขายบ้านใหม่
ตัวอย่างการ Hedge ในการ “เทรด”
การ Hedging ในการเทรดคือการที่เปิด Position ตรงกันข้ามกับ Position ที่ถืออยู่ ยกตัวอย่างเช่น มี Long XAUUSD 1 lot แต่พอเปิดมาได้ซักพักเริ่มไม่มั่นใจ คิดว่า ราคาอาจมีการกลับด้วย ดังนั้นจึงเปิด Short XAUUSD อีก 1 lot ในกรณีนี้ เรียกว่า “Fully Hedge” หรือ Hedge เต็ม เพราะเปิด Long เท่าไหร่ ก็เปิด Short เท่านั้น ดังนั้นถ้าราคาทองวิ่งขึ้นต่อไป ไม้ที่เปิด Short ก็จะขาดทุน ในขณะที่จะได้กำไรจากไม้ Long
การ Hedge ไม่เต็ม หรือ “Partially Hedge” คือการเปิด “ไม้สวน” ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น
Buy = XAUUSD 1 lot
Sell= XAUUSD 0.5 lot
ในการซื้อขาย 1 lot หากราคาเคลื่อนที่ 1 pip จะเท่ากับ 1$ ดังนั้นหากเปิด 2 ออเดอร์นี้พร้อมกันในราคาที่เท่ากัน หากราคาเคลื่อนที่ขึ้น 5pip ผลกำไรขาดทุนจะเท่ากับ
Buy = 1$ * 5 = 5$
Sell = 0.5*-5 = -2.5$
= กำไร 2.5$
กลยุทธ์ด้านบทจะเรียกว่าการ Hedge แบบ Direct กล่าวคือ เทรดคู่ไหน ก็เปิดสวนคู่นั้น ซึ่งในการเทรดแบบ Hedging นั้น จะมีอีกแบบนั่นก็คือ “Indirect Hedge” ซึ่งแปลตรงตัวว่า การป้องกันความเสี่ยงทางอ้อมในคู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก (Positive Corelation) กับคู่สกุลเงินที่คุณต้องการป้องกันความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น buy คู่เงิน USD/THB และ sell คู่เงิน EUR/THB จะเห็นได้ว่านี่คือกลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก คือเคลื่นไหวไปในการที่ใกล้กัน หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งกราฟ USD/THB และ EUR/THB ก็จะเคลื่อนที่ลงเหมือนกัน ดังนั้น หาก เงินบาทแข็งค่าขึ้น นั่นแปลว่า position BUY ของ USDTHB จะขาดทุน ในขณะที่ EUR/THB จะได้กำไร
อีกตัวอย่างของ Indirect Hedge คือคู่เงิน XAG และคู่ทอง XAU โดยกราฟของทั้งสองจะเดินทางไปในทิศทางที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดังนั้น เทรดเดอร์สามารถคอยสังเกตุ และนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์การเทรดของตัวเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเทรดได้เช่นกัน
Final Thoughts
การป้องกันความเสี่ยงแบบการ Hedge เป็นการป้องกันที่สำคัญที่นักลงทุน เทรดเดอร์ หรือบริษัทต่างๆสามารถใช้เพื่อปกป้องการลงทุนของตนจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในตลาดการเงินได้ และแม้ว่าการป้องกันความเสี่ยงจะเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่มีประโยชน์ แต่ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและศึกษาให้เกิดความเชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของความเสี่ยง สภาวะตลาด และวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นก่อนที่จะทำธุรกรรมใดๆ ควรศึกษาข้อจำกัดและคำนวณหน้าเทรดหรือความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ก่อนเสมอ