สรุปประเด็น
– เงินเยนญี่ปุ่นอาจปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปยังราคา 120 เยนต่อดอลลาร์ฯ ภายในปีนี้ ด้วยเหตุผลจากการปรับปรุงนโยบายของธนาคารญี่ปุ่น
– สถาบันวิจัย Nomura เชื่อว่า Fed จากสหรัฐฯ ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจนถึงจุดที่สูงมากแล้ว และ BOJ (Bank of Japan) อาจปรับปรุงนโยบาย YCC (Yield Curve Control)
– นอกเหนือจากนั้น ธนาคาร Standard Chartered เชื่อว่า BoJ อาจมีการยกเลิกนโยบาย YCC อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่จะทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นไปอีก
เงินเยนญี่ปุ่นอาจปรับตัวแข็งค่าขึ้น 120 เยนต่อดอลลาร์ภายในปีนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลาง
Craig Chan ผู้อำนวยการสูงสุดด้านกลยุทธ์ Global FX ของ Nomura กล่าวว่าเขามีความมั่นใจในมุมมองของเขาที่มีต่อเงินเยนค่อนข้างมาก โดยเขาคาดว่าอาจจะได้เห็นราคา 125 เยนต่อดอลลาร์ภายในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน และ 120 เยนต่อดอลลาร์ภายในปีนี้
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ในการประชุมแถลงข่าวเปิดตัวครั้งแรกของผู้ว่าการธนาคารญี่ปุ่นรายใหม่ Kazuo Ueda ในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ผู้ว่าการธนาคารญี่ปุ่นคนใหม่นี้ ได้เน้นในความตั้งใจของเขาที่จะ “รักษานโยบายการเงินแบบไม่ปกตินี้ไว้” เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของธนาคารกลางนั่นคือ อัตราเงินเฟ้อที่ 2%
“นโยบายการแบบไม่ปกติ หรือ Unconventional Monetary Policy” หมายถึงการใช้นโยบายการเงินที่ต่างจากการใช้นโยบายทางการเงินทั่วไปในประเทศ เช่น มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว การเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือมาตรการที่ธนาคารกลางต้องการจะล็อกอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในระยะยาว (YCC: Yield Curve Control) เป็นต้น
เงินเฟ้อใน ญี่ปุ่น
Ueda กล่าวเพิ่มเติมว่าในปัจจุบันเขาต้องการที่จะดำเนินนโยบาย ‘Abenomics (in Academy)‘ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องกำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตช้าของค่าจ้างแรงงานภายในประเทศ เงินเฟ้อในญี่ปุ่นนั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2022 และยังคงเพิ่มต่อเนื่องในต้นปี 2023 ก่อนที่จะลดลงในเดือนกุมภาพันธ์จากยอดสูงสุดในรอบ 40 ปี ยอดในเดือนกุมภาพันธ์คือ 3.3% YoY ในขณะที่ราคาผู้บริโภคหลัก (Core Consumer Price Index) ขึ้นอยู่ที่ 3.1% YoY ซึ่งเป็นค่าเท่ากับที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ แต่ก็ยังสูงเกินเป้ากว่าหมายของธนาคารญี่ปุ่นที่ตั้งไว้ที่ 2%
แม้ว่า Bank of Japan จะยังมีความกังวลและถูกกดดันในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงอยู่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีความเห็นว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่มาจากความต้องการที่สูงขึ้น (Demand-Driven Inflation) อาจนำมาสู่การปรับตัวขึ้นของอัตราค่าจ้างภาคแรงงานในประเทศได้
Ueda กล่าวว่า จะรักษานโยบายล็อกอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในระยะยาว (YCC) โดยในนโยบาย YCC ของญี่ปุ่นนั้น อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นรักษาไว้ในระดับ -0.1% และอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระยะ 10 ปีจะถูกรักษาไว้ที่ระดับ 0.5% หรือต่ำกว่าศูนย์
ตามรายงานของ Deutsche Bank นั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า Fair Value ของอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระยะ 10 ปีนั้นจะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.5% ถึง 1.6% หากธนาคารญี่ปุ่นหยุดใช้นโยบาย YCC (Yield Curve Control) และยุติการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้นโยบายแบบปกติอย่างเต็มรูปแบบ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระยะ 10 ปีนั้น อาจสามารถปรับไปถึง 2% ถึง 2.5%