จับตามอง Asset Quality หลังกำไรพุ่งต่อเนื่องถึง Q1 จากรายงานว่า DBS Group Holdings Ltd., Oversea-Chinese Banking Corp. Ltd. (OCBC) และ United Overseas Bank Ltd. (UOB) รายงานรายได้สุทธิไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นปีต่อปี โดย DBS มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 2.24 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จาก 1.70 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในส่วนของ OCBC รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 1.61 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จาก 1.22 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้สุทธิของ UOB เพิ่มขึ้นเป็น 1.40 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จาก 1.05 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ศัพท์การเงิน
Asset Quality
Asset Quality คือ คุณภาพของสินทรัพย์ ซึ่งคุณภาพนี้หมายถึง ความสามารถหรือความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์ที่ทำรายได้ของธนาคาร จะยังคงสร้างกระแสเงินสดให้แก่ธนาคาร หรือพูดง่ายก็คือ คุณภาพของพอร์ตสินเชื่อที่มีรายรับจากดอกเบี้ยรับ มีคุณภาพดีหรือไม่- สถาบันวิจัย Nomura เชื่อว่า Fed จากสหรัฐฯ ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจนถึงจุดที่สูงมากแล้ว และ BOJ (Bank of Japan) อาจปรับปรุงนโยบาย YCC (Yield Curve Control)
Non Performing Loan (NPL)
Non-Performing Loan (NPL) หรือ หนี้เสีย ซึ่งหมายถึง สินเชื่อที่ค้างชำระมากกว่า 3 เดือน
“Asset Quality ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตราย แม้จะมีสภาพการดำเนินงานที่ยากลำบากขึ้น” Thilan Wickramasinghe หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ Maybank Securities กล่าวกับ S&P Global Market Intelligence “เราคิดว่านี่อาจเป็นข้อกังวลหลักที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 และ NPL อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากลูกค้าเริ่มปรับตัวเข้ากับสภาวะที่อาจเกิดเศรษฐกิจถดถอยพร้อมกับต้นทุนการกู้ยืมที่สูงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น”
อัตราดอกเบี้ยสูง
อัตราดอกเบี้ยที่สูงนั้นจะช่วยเพิ่มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM: Net Interest Margin) ให้กับธนาคารในสิงคโปร์ โดย Wickramasinghe คาดว่า NIMs จะยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารกลางอาจคงอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่สูงนานขึ้น
สถาบันการเงินต้องเผชิญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อนั้นส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ของการกู้เงิน โดยธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS: The Monetary Authority of Singapore) ได้แถลงนโยบายการเงินของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกอย่างสิงคโปร์อาจจะเติบโตในเรท 0.5% – 2.5% ในปีนี้ จาก 3.6% ในปีก่อน ในขณะที่ราคาสินค้าและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าการค้าน่าจะหดตัวต่อไปในปีนี้
ธนาคารกลางย้ำถึงความพยามในการที่จะปรับอัตราเงินเฟ้อลงให้เหลือ 2.5% ภายในสิ้นปีนี้
โดยในช่วงกลางปีอัตราน่าจะผันผวนอยู่ช่วง 3.5% – 4.5%
อัตราเงินเฟ้อและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ DBS Group กำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกค้าที่ถือบัญชีเงินกู้ขนาดกลางและขนาดย่อม (Loan Book)
Piyush Gupta ซีอีโอของ DBS กล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมกับ SP Global ว่า “เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ต้นทุนสินค้าก็สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็สูงขึ้น ต้นทุนทางการเงินก็สูงขึ้น …. พวกเราถูกกดดัน” แต่เรายัง “มีโอกาส” ที่จะทำกำไรสุทธิ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีนี้ หลังจากที่ได้รายงานกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 8.19 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้น 20% จากปี 2021
ในฝั่งของ PCBC ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Pik Kuen Wong ได้เห็นด้วยกับการประเมินของ Gupta ที่ว่า “คุณภาพสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ปกติ” โดยไม่มีวี่แววของปัญหาเชิงระบบแต่อย่างใด
Sources
- Data – SPGlobal
- Financial Vocabulary Definition – Efinance