การเลือกโบรกเกอร์ Forex เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ นอกเหนือจากความเข้าใจหรือความสามารถในการวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐาน และ ปัจจัยกราฟเทคนิค เพราะว่า แม้ผู้ลงทุนมีความรู้ในการเทรด แต่ขาดโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ พร้อมกับเงื่อนไขที่ดี และ เครื่องมือที่เหมาะสม ก็จะไม่สามารถสร้างรายได้ในตลาดแบบยั่งยืนได้ โดยสรุป ไม่มี โบรกเกอร์ ไหนดีที่สุด แต่ต้อง เลือกโบรกเกอร์ ให้เหมาะสมกับวิธีการของคุณ ซึ่ง 6 ปัจจัยสำคัญสำหรับ การเลือก โบรกเกอร์ Forex ที่ควรนำมาพิจารณาใน การเลือกโบรกเกอร์ Forex นั้นมีดังนี้
โบรกเกอร์ คือ หน่วยงานหรือบริษัทซึ่งเป็นบุคคลกลางที่รับดำเนินการธุรกรรมการซื้อขายให้กับผู้ใช้งาน โบรกเกอร์ที่ให้บริการจะได้รับผลตอบแทนจากค่าดำเนินการต่างๆเช่น spread หรือ commission (ค่าบริการในการเทรด)
1) ประเภทของใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex
ใบอนุญาต เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าควรเป็นสิ่งแรกที่ผู้ลงทุนจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนที่จะเลือกลงทุนกับแต่ละโบรกเกอร์ เพราะโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือควรจะมีใบอนุญาตจากสถาบันที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญในการควบคุมกฎและเงื่อนไขของอุตสาหกรรม ซึ่งการที่จะได้รับใบอนุญาตนั้น โบรกเกอร์จะต้องผ่านการตรวจสอบให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลากหลายขั้นตอนสำหรับแต่ละสถาบัน ขั้นตอนนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ โดยประเภทของใบอนุญาตหรือการควบคุมจะถูกแบ่งออกมาเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. First Tier License
โบรกเกอร์ Forex อันดับหนึ่ง คือ ประเภทใบอนุญาต ที่มาจากตลาดการเงินหลัก ซึ่งประกอบด้วย ตลาดการเงินที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เช่นประเทศ อมเริกา และ สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น โดยที่อเมริกาจะมีสองสถาบันหลัก ที่มีชื่อว่า The Commodity Futures Trading Commission (CFTC) และ National Futures Association (NFA) ในขณะที่ผู้ควบคุมในสวิสเซอร์แลนด์คือหน่วยงานที่มีชื่อว่า The Financial Market Authority (FINMA) สถาบันควบคุมตลาดการเงินจากสองประเทศนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากที่สุดในการออกใบอนุญาตให้กับแต่ละองค์กรณ์ที่ต้องการเข้ามาดำเนินงานเป็นโบรกเกอร์ นอกจากการตรวจสอบที่ค่อนข้างเข้มงวดแล้วก่อนอนุมัติใบอนุญาตแล้ว โบรกเกอร์ภายใต้การควบคุมยังจำเป็นจะต้องทำรายงานส่งแบบสม่ำเสมอในระหว่างการดำเนินงานเพื่อคงสถานะของใบอนุญาตต่อไป ใบอนุญาตนี้ยังมีข้อกำหนดในส่วนของเงินทุนขั้นต่ำที่โบรกเกอร์จะต้องคงไว้ในปริมาณไม่ต่ำกว่า $20,000,000 สำหรับประเทศอเมริกา
2. Second Tier License
ใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex ลำดับที่สองนี้จะมีความเข้มงวดและความต้องการของปริมาณเงินทุนน้อยกว่า First Tier รวมถึงการรายงานที่มีความผ่อนคลายน้อยกว่าอีกด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้กฎเกณฑ์สำหรับประเภทของใบอนุญาตของ Second Tier จะไม่เข้มงวดเท่ากับ First Tier แต่ก็ยังมีความน่าเชื่อถือในระดับที่สูงมากๆไม่แพ้กันกับ First Tier เพราะเป็นสถาบันที่มาจาก ประเทศใหญ่เช่นกัน ก้คือ ประเทศอังกฤษ (Financial Conduct Authority – FCA) และ ออสเตรเลีย (Australian Securities and Investments Commission – ASIC)
3. Offshore License
Offshore ในบริบท ของใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex นี้คือ ประเภทที่มีสถาบันทางการเงินที่ปฎิบัติงานอยู่นอกเขตจากประเทศตลาดทุนหลัก ซึ่งการขออนุมัติเพื่อใบอนุญาตจากประเทศ Offshore เหล่านี้จะมีความเข้มงวดน้อยกว่า First และ Second Tier เป็นอย่างมาก นอกจากความเข้มงวดที่น้อยกว่าแน่นอนว่าเงินทุนที่ต้องมีก็น้อยกว่าเช่นเดียวกัน โดยสถาบันการเงินเหล่านี้จะมาจากประเทศที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะในมหาสมุทรอินเดีย หรือ หมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน เช่น
- ประเทศไซปรัส Cyprus (Cyprus Securities and Exchange Commission – CySEC)
- หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน British Virgin Islands (Financial Services Commission – FSC)
- ประเทศเซเชลส์ Seychelles (Seychelles Financial Services Authority – SFSA)
- สาธารณรัฐวานูอาตู Vanuatu (Vanuatu Financial Services Commission – VFSC)
- ประเทศเบลีซ Belize (International Financial Services Commission – IFSC)
- ประเทศคอโมโรส Comoros (MWALI International Services Authority – MISA)
- หมู่เกาะเคย์แมน Cayman Islands (The Cayman Islands Monetary Authority – CIMA)
- ประเทศมอริเชียส Mauritius (The Financial Services Commission (FSC) of Mauritius)
นอกจากกลุ่มประเทศ Offshore เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งใบอนุญาตที่มีความนิยมในกลุ่มโบรกเกอร์ เป็นอย่างมาก ซึ่งนั้นก็คือใบอนุญาตจากประเทศแอฟริกาใต้ (Financial Sector Conduct Authority – FSCA) ซึ่ง FSCA ก็คือสถาบันทางการเงินที่มีหน้าที่ควบคุมผู้ให้บริการทางด้านการเงินในประเทศแอฟริกาใต้ รวมถึง โบรกเกอร์ Forex ด้วยเช่นกัน ซึ่ง FSCA ไม่ได้ถูกจำแนกอยู่ใน Offshore เพราะว่า ประเทศแอฟริกาใต้ก็ถือว่าเป็นตลาดการเงินที่ถือว่ามีความน่าเชื่อถือ
เมื่อเราทราบแล้วว่าแต่ละ โบรกเกอร์ สามารถยื่นขอรับอนุมัติ ใบอนุญาตอะไรได้บ้าง อีกส่วนที่สำคัญคือเราจะเช็คได้อย่างไรว่าข้อมูลที่ระบุไว้บนเวปไซต์ของโบรกเกอร์นั้นถูกต้อง ซึ่งเราสามารถนำเลขทะเบียนของใบอนุญาตที่ถูกระบุไว้ในเวปไซต์ของแต่ละโบรกเกอร์ไปเช็คกับสถาบันการเงินดังกล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบันหรือ ณ เวลานั้นๆ โบรกเกอร์ Forex ยังถูกควบคุมอยู่ภายใต้ สถาบันหรือไม่
ข้อมูลตัวเลขขึ้นทะเบียนกับสถาบันของแต่ละโบรกเกอร์จะถูกระบุไว้ในส่วนของ Disclaimer ด้านล่างสุดของหน้าเว็ปไซต์ ใบอนุญาตเหล่านี้ไม่สามารถการันตีความปลอดภัยของเงินผู้ลงทุนได้ แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนว่าโบรกเกอร์นี้มีการขึ้นทะเบียนกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ ซึ่งหมายความว่าโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตยังมีการถูกตรวจสอบอยู่เป็นประจำ
2) สไตล์การเทรด
วิธีการเทรดเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆในการเลือก โบรกเกอร์ Forex เนื่องจากว่าแต่ละโบรกเกอร์ไม่สามารถให้เงื่อนไขที่เหมือนกันได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าคอมมิชชั่น ค่าSpread หรือ ค่าSwap เพราะแต่ละโบรกเกอร์มีการบริหารความเสี่ยงที่แตกต่างกัน การเลือกโบรกเกอร์นั้นอาจจะยังไม่เพียงพอในการตัดสินใจเพราะแต่ละโบรกเกอร์มีบริการในหลากหลายประเภทบัญชีอีก เราจึงต้องมาเลือกประเภทบัญชีอีก ในส่วนนี้เราขอแบ่งสไตล์การเทรดเป็นสองประเภทใหญ่ๆเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1. เทรดระยะสั้น (Scalping – Day Trading)
ถ้าหากสไตล์หรือกลยุทธ์การเทรดของคุณเป็นการเทรดสั้น คุณไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปคำนึงถึงโปรแกรมSwap Freeเพราะ การเทรดของคุณจะไม่จำเป็นต้องถือสถานะข้ามคืนอยู่แล้ว แต่สายการเทรดสั้น จึงต้องมาคำนึงถึงเรื่อง spread หรือ คอมมิชชั่นมากกว่า
หากการเทรดสั้นนี้หมายถึง กลยุทธ์ Scalping หรือ การทำกำไรเมื่อสถานะเทรดได้กำไรเพียงเล็กน้อยและเริ่มเกิดการกลับตัวใน time frame เล็กๆ นั่นหมายความว่า กลยุทธ์นี้ต้องการเงื่อนไขการเทรดที่มีค่า spread ต่ำมากๆ ซึ่งอาจจะต้องแลกมาด้วยต้นทุนทางการเทรดที่คงที่ในรูปแบบ fixed commission ต่อ ล็อต แทน เพราะว่าเงื่อนไขนี้จะทำให้ประสบการณ์ในการทำกำไรของ scalper ดีขึ้น โดยที่สามารถปิดสถานะได้เร็วขึ้นเพราะไม่จำเป็นต้องรอการเคลื่อนที่ของราคาไปแตะจุดที่ทำกำไรได้ จาก ค่า spread
แต่ถ้าหากกลยุทธ์การเทรดสั้นของเราคือการเทรดตามmomentumหรือแนวโน้มของวัน แค่เราไม่ต้องการความเสี่ยงในการถือสถานะข้ามคืนนั้น กลยุทธ์นี้เหมาะสมกับทุกประเภทบัญชี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆสำหรับแต่ละโบรกเกอร์ เช่น การใช้บัญชีที่มีค่า spread ที่แคบมากและต้องเสียต้นทุนทางการเทรดเป็นfixed commission ต่อ ล็อต จะไม่อนุญาตให้ใช้ อัตราleverage ที่สูง เป็นต้น
2. เทรดระยะกลาง-ยาว (Momentum, Swing, Trend Following – Medium to Long Term Trading)
ถ้าหากสไตล์หรือกลยุทธ์การเทรดของคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับความผันผวนระยะสั้นในรายวันและต้องการถือสถานะข้ามวัน สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือค่า Swap อันดับแรกจำเป็นจะต้องหาว่าโบรกเกอร์ ไหนที่ไม่มีการคำนวนค่าSwapสำหรับการถือสถานะข้ามคืน ในสินทรัพย์ที่เราเทรด นอกจาก Swap การตัดสินใจว่าจะใช้ประเภทบัญชี spread หรือCommissionก็มีส่วนสำคัญต่อต้นทุนในการเทรดระยะยาวเช่นกันเพราะฉนั้นเราจึงนำทุกมิติมาวิเคราะห์แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะใช้โบรกเกอร์ไหน และ ประเภทบัญชีอะไร
ลองดูตัวอย่างในการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนทางการเทรดในส่วน spread และ Fixed Commission ต่อ ล็อต สำหรับการเทรดทองคำ (XAUUSD) ในขนาด 1 Standard Lot
1) Standard Account with Spreads (No Commission)
Spread = 12.5 Pips
Commission = 0
Trading Volume = 1 Lot
Pip Value = 1 USD
Spread Costs/Trading Costs = $12.5
2) Pro Account with no Spreads (Fixed Commision per Lot)
Spread = 0 Pips
Commission = $8 per lot
Trading Volume = 1 Lot
Pip Value = 1 USD
Spread Costs/Trading Costs = $8
คำอธิบายสำหรับกรณีที่ 1) จากการใช้บัญชีที่ไม่มีค่าคอมมิชชั่นแต่มีค่า spread ผู้เก็งกำไร จะต้องรอราคาเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้องสูงกว่า 12.5 pips จึงจะเริ่มมีสถานะที่เท่าทุน
ในทางตรงกันข้ามสำหรับกรณีที่ 2) บัญชีที่ไม่มี spread แต่มีค่าคอมมิชชั่นคงที่ สามารถทำกำไรได้เลย $4.5 ถ้าหากราคาเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้องในระดับ 12.5 pips
ตัวอย่างนี้เป็นเพียงกรณีศึกษาที่ต้องการให้ผู้ลงทุนมีความเข้าใจมากขึ้นถึงปัจจัยของต้นทุนทางการเทรดในแต่ละสไตล์ และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด สิ่งที่สำคัญมากกว่าตัวอย่างนี้คือ เราจำเป็นจะต้องนำปริมาณที่เราเทรดจริงๆมาคำนวนถึงต้นทุนการเทรดของทั้งค่า spread และ Fixed Commission ต่อล็อต เพื่อพิจารณาว่าแบบไหนคุ้มและเหมาะสมกับกลยุทธ์ไหนมากกว่ากัน
3) เงื่อนไขของสินทรัพย์หลักที่เทรด
ตามที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องต้นทุนทางการเทรดไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์อะไรก็ตาม ตัวแปรสำคัญอีกอย่างก็คือสินทรัพย์ที่เราเลือกจะเทรดว่ามันคือคู่เทรดอะไร เพราะ บางโบรกเกอร์ Forex อาจจะมีสภาพคล่องสำหรับคู่เงินที่ดีกว่าสภาพคล่องของทองคำ จึงทำให้ต้นทุน spread ของการเทรดคู่เงินต่ำกว่าโบรกเกอร์อื่นๆ ในขณะที่ อีกโบรกเกอร์มี spread ของทองคำที่ต่ำกว่า หรือ บางโบรกเกอร์ Forex อาจจะมีเงื่อนไขสำหรับบางประเภทบัญชีที่อนุญาตให้ผู้ลงทุนสามารถถือสถานะข้ามคืนโดยไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียม Swap สำหรับบางคู่เทรดด้วยเช่นกัน เพราะฉนั้น สินทรัพย์หรือคู่เทรดนั้นก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะมาช่วยให้เราสามารถเลือกโบรกเกอร์ที่ให้เงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์การเทรดของเราได้
นอกจากตัวแปรหลักในส่วนของต้นทุนทางการเทรดเช่น spread commission และ swap แล้ว ยังมีอีกสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ผู้ลงทุนควรจะต้องศึกษาก่อนเลือกโบรกเกอร์ นั่นก็คือ เงื่อนไข อัตรา Leverage ในแต่ละสินทรัพย์ สำหรับแต่ละช่วงเวลา เพราะ ทุกๆโบรกเกอร์จะมีเงื่อนไขในการจำกัดความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉนั้น เงื่อนไขของ Leverage ที่แปรผันไปตาม Equity ช่วงเวลาตลาดผันผวน หรือ ประเภทของสินทรัพย์ที่จะเทรด จึงเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนควรจะตรวจสอบเพื่อที่จะได้มีความสามารถในการประเมินการจำกัดความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
4) Platform ที่ต้องการใช้เทรด
เครื่องมือ หรือ Platform ที่ต้องใช้ในการเทรด ไม่ว่าจะเป็นบน Tablet Computer หรือ Smartphone (IOS & Android) เราควรเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่สามารถครอบคลุมการเทรดให้สามารถทำได้บนทุกๆอุปกรณ์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นได้ เป็นขั้นต่ำ
แน่นอนว่าPlatformที่อยู่คู่กับทุกๆ โบรกเกอร์ Forex นั่นก็คือ MetaTrader ซึ่งเป็นตัวเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับทุกๆโบรก แต่บางโบรกเกอร์อาจจะไม่สามารถครอบคลุม Platform ตัวใหม่ของ MetaTrader ได้ ซึ่งนั่นก็คือ MetaTrader 5 (MT5) ที่มีคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มขึ้นมามากกว่า MetaTrader 4 (MT4) เล็กน้อย เช่น จำนวน Timeframes ที่มากขึ้น หรือ ภาษาที่นำไปใช้เขียนโปรแกรม Expert Advisor (EA) ที่ถูกอัพเกรดขึ้นมา
เนื่องจากก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นจากการที่ App Store ของ ระบบ IOS นำ App MT4 และ MT 5 ออกจาก App Store ทำให้ผู้ลงทุนบางส่วนไม่สามารถเทรดกับโบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มี Platform อื่นๆได้ เพราะฉนั้น เราจึงขอแนะนำให้เลือกโบรกเกอร์ที่มีทางเลือกในด้านของ Platforms มากขึ้นนอกเหนือจาก MT4 หรือ MT5 เผื่อป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์นี้ที่เกิดขึ้นในอดีต และเราขอเสริมว่าโบรกเกอร์ที่พยายามพัฒนา Application การเทรด เป็นของตนเองมีความสำคัญมากๆ เพราะจุดนี้ แสดงให้เห็นถึง การพัฒนาและความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมของโบรกเกอร์นั้นๆอีกด้วย การที่โบรกเกอร์ไปร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ใหญ่ๆ เช่น cTrader หรือ TradingView เพื่อนำเทคโนโลยีที่พัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านกราฟเทคนิคมามอบให้กับUserก็แสดงถึงความแข็งแกร่งทางธุรกิจเช่นกัน
5) Customer Supports
การบริการลูกค้าเป็นอีกเรื่องที่สำคัญในการเลือกโบรกเกอร์ เพราะบางครั้ง ผู้ใช้งานอาจจะประสบปัญหาต่างๆ และ ต้องการความช่วยในขณะนั้นทันที ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางโบรกเกอร์ Forex จะมีช่องทางหลักที่สามารถให้บริการและช่วยเหลือลูกค้า ผ่าน Live Chat บนเว็ปไซต์ แต่บางโบรกเกอร์อาจจะไม่สามารถให้บริการ Live Chat เป็นภาษาไทยได้หลังเวลาทำงานปกติได้
ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีเวลาว่างที่จะเริ่มมาเทรดหรือทำธุรกรรมหลังเลิกงาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลัง 4 ทุ่มเป็นต้นไป เราอาจจะไม่สามารถได้รับการช่วยเหลือหากเราเจอปัญหาเกี่ยวกับระบบสำหรับบางโบรกเกอร์ได้ เพราะว่า บางโบรกเกอร์อาจจะมีการให้บริการ Live chat ถึง แค่ สามทุ่ม เป็นต้น เพราะฉนั้น เราจึงควรเลือกโบรกเกอร์ ที่สามารถให้บริการหรือช่วยเหลือในช่วงที่เหมาะสมกับเวลาของเรา
6) ฝาก-ถอน (Deposit-Withdrawal)
การเลือกโบรกเกอร์ Forex ต้องคำนึงถึงบริการฝากและถอนด้วย ระบบของโบรกเกอร์ควรมีช่องทางการฝากเงิน-ถอนเงินที่เราต้องการ หรือ เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการใช้ เช่น การทำธุรกรรมผ่านธนาคารในประเทศ หรือ บัตรเครดิต หรือ Cryptocurrency
นอกจากช่องทางการบริการฝาก-ถอนแล้ว เราควรจะต้องตรวจสอบเรื่องค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมด้วยว่าทางโบรกเกอร์นี้มีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นผลต่อต้นทุนทางการเทรดเพิ่มเติมได้อย่างมหาศาล ถ้าหากมีการคิดค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรมการฝาก-ถอน
ส่วนสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสำหรับการฝาก-ถอน ก็คือระยะเวลาการทำธุรกรรม โดยๆทั่วไปแล้วทุกโบรกเกอร์จะดำเนินการฝากเงินได้ทันที แต่บางครั้งระบบถอนเงินอาจจะยังไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วนัก เพราะต้องมีการตรวจสอบกันอย่างละเอียดตามนโยบายของแต่โบรกเกอร์
โดยทั่วไปแล้วทุกๆโบรกเกอร์จะมีเงื่อนไขการฝาก-ถอนคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ส่วนของ ช่องทางการฝาก-ถอน ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ฟรี และ ระยะเวลาการฝาก-ถอนที่ไม่ต่างกันมากในปัจจุบันนี้ แต่เนื่องจากยังมีบางโบรกเกอร์ที่ไม่มีระบบที่สเถียรมากพอ เราจึงต้องนำปัจจัยนี้มาเป็นอีกส่วนที่เราสมควรจะตรวจสอบ
บทสรุป จาก 6 ปัจจัยสำคัญสำหรับ การเลือก โบรกเกอร์ Forex
นอกจาก 6 ปัจจัยสำคัญ สำหรับ การเลือก โบรกเกอร์ Forex เหล่านี้แล้ว มันก็ยังจะมีความเสี่ยงบางอย่างที่ทุกโบรกเกอร์นั้นไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ระยะเวลาในการฝาก-ถอนเงินเข้าบัญชี หรือ สภาพการทำงานของเซิฟเวอร์ ในแต่ละโบรกเกอร์นั้นๆ เพราะฉนั้นเราจึงขอแนะนำว่าทุกคนควรจะมีบัญชีอย่างน้อยกับสองโบรกเกอร์ เพื่อตัดความเสี่ยงสำหรับการเสียโอกาสในเวลาเทรดในบางช่วงไป เพราะเมื่อระบบของโบรกเกอร์หนึ่ง มีปัญหา เราก็ยังสามารถเทรดได้กับอีกโบรกเกอร์หนึ่ง